ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง
การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช
ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้
1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร
2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19)
และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว
และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!!
ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
26-12-2024
ยานพาหนะไฟฟ้า ก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้าน ESG: SIW ได้มีการปรับเปลี่ยนยานพาหนะในองค์กรเป็นรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกไฟฟ้า (Electric Trucks) หรือรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
08-06-2022
เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
16-12-2024
เทรนด์การก่อสร้างที่น่าจับตามอง ในปี 2025 เทรนด์การก่อสร้างในปัจจุบันไม่ได้เพียงแค่เน้นการพัฒนาโครงสร้างที่ทันสมัยและแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกมาใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน การก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) ในปัจจุบัน แนวคิดการก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากสอดคล้องกับหลักการ ESG ที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น • การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • เทคนิคการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง • การจัดการของเสียด้วยการคัดแยกและจัดการเศษวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดนี้ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อสร้างโครงสร้างที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่กระทบต่อทรัพยากรในอนาคต เทคโนโลยีดิจิทัลในงานก่อสร้าง (Digital Technology in Construction) เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น • IoT (Internet of Things): อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพื่อเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น การตรวจสอบความปลอดภัยในไซต์งาน • AI (Artificial Intelligence): ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย • ระบบ BIM กับการออกแบบโครงสร้างอย่างแม่นยำ: ช่วยออกแบบโครงสร้างและจัดการโครงการอย่างแม่นยำ ลดการสิ้นเปลืองวัสดุและข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี เช่น โดรนสำรวจพื้นที่แบบ 3 มิติ และ AR/VR สำหรับการออกแบบเสมือนจริง ซึ่งช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการก่อสร้าง เพิ่มความปลอดภัย และช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำยิ่งขึ้น การใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังเติบโต โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น • หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Roofs) : ช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • พลังงานจากลม (Wind Energy) : ใช้พลังงานลมเพื่อลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงานสะอาดไม่เพียงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุนพลังงานและสร้างโครงสร้างที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงาน (Prefabrication) การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงานเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญ โดยมีการออกแบบและผลิตองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้น เสา และหลังคา ในโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพ ก่อนนำไปประกอบในไซต์งานจริง วิธีนี้ช่วยเร่งความเร็วในการก่อสร้างและลดความยุ่งยากในไซต์งาน ปัจจุบัน SIW ก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์การก่อสร้างที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) หรือการสนับสนุนการก่อสร้างอย่างยั่งยืนผ่านการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลจากเทคโนโลยี EAF นอกจากนี้ SIW ยังได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 (Green Industry Level 4) และกำลังดำเนินแผนสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
18-08-2022
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมส่งมอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้า ขนาด 5 มม. และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ขนาด 9.3 มม. (PC Wire และ PC Strand) แก่คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 เส้น อีกทั้งยังมีการแนะนำอบรมกระบวนการผลิต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สยามลวดเหล็กฯ มีความยินดีที่จะส่งเสริมสร้างสรรค์การพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในวิชาชีพและต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมในอนาคต
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
28-08-2024
Managing Director ของสยามลวดเหล็กฯ ผู้มากด้วยประสบการณ์และมีวิสัยทัศน์ร่วมกับเราในการสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้น เรามุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมลวดเหล็ก และมีความมุ่งมั่นที่จะไม่หยุดยั้งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความยั่งยืนในอุตสาหกรรม “SIW: Forging Ahead in Steel Wire with Cutting-Edge Innovation and a Strong Commitment to a Sustainable Tomorrow.” Srivatson C. Managing Director
16-08-2024
เปิดแล้ววันนี้!! บริการทดสอบคุณภาพลวดเหล็กอัดแรงจาก SIW-Testing Service Center เหมาะสำหรับผู้ผลิตหรือผู้ใช้งานลวดเหล็ก PC Wire และ PC Strand ที่ต้องการผลทดสอบคุณภาพสินค้าตามมาตรฐานต่างๆ ด้วยห้องแล็บจาก SIW ที่มีความเชียวชาญด้านการทดสอบคุณภาพลวดเหล็กอัดแรงกว่า 30 ปี สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก NATA (National Association of Testing Authorities, Australia) รายงานผลละเอียด ชัดเจน สอบกลับได้ทุกขั้นตอน พร้อมการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง อุปกรณ์ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ความแม่นยำมากกว่า 99.95% ปรับแต่งการทดสอบได้ยืดหยุ่น ตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการทดสอบที่เฉพาะเจาะจง ข้อมูลบริการ: 1. Fatigue Testing Machine (เครื่องทดสอบความล้า) - แบรนด์: Zwick Roell รุ่น HA500 - รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, BS 5896, LNEC E 542, LNEC E 453, ISO 15630 Part 3, TIS 95-2540, TIS 420-2540 - PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม. - PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม. - Deformed Bar: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 40 มม. 2. Relaxation Testing Machine (เครื่องทดสอบความผ่อนคลาย) - รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, ASTM A416/A416M, ASTM A421/A421M, ASTM A881, BS 5896, ISO 15630-3, JIS G3536, TIS 95-2540, TIS 420-2540 - PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 300 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 9 มม. - PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.3 – 18.0 มม. อัตราค่าบริการทดสอบลวดโดย Testing Service Center ทำไม? ต้องเลือก SIW - Testing Service Center สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: >>คลิ๊ก<<
08-06-2022
SIW ทำธุรกิจด้วยหลัก ESG ที่พาองค์กรเติบโตและยั่งยืน มีการดำเนินการในด้าน Environment, Social and Governance (ESG) ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การดำเนินกิจกรรมด้านสังคม Social เพื่อแสดงความมุ่งมั่นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001, TIS 18001, มรท 8001 และ CSR-DIW ตลอดถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือของพนักงานและชุมชน มีการดำเนินงานการการให้ปรับปรุง-เสริมสร้างความตระหนักความปลอดภัยแก่พนักงาน การให้ความรู้ให้แนวทางการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการและชุมชน การบริจาคให้กับการสร้างห้องสมุด การมอบทุนการศึกษาให้กับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริษัท การสร้างกิจกรรมสำนึกบ้านเกิดของพนักงาน ในด้านสิ่งแวดล้อม Environment บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001, ISO 50001, Product carbon footprint label และ Environmental Product Declarations (EPD) โดยในทุกปีบริษัทมีการจัดทำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการ Low Emission Support Scheme (LESS) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ตลอดถึงมุ่งมั่นการลดภาวะโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจก สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อมนี้บริษัทอยู่ระหว่างขยายความสามารถดำเนินโครงการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ในด้านธรรมาภิบาล Governance บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001, ISO/IEC 17025, NATA-ISO/IEC 17025 และมาตรฐาน Product certificate จากแต่ละประเทศมากกว่า 25 มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ อาทิ TIS, UK CARES, DCL, ASTM, JIS, MS, NZ และ AS เป็นต้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานราชการ ว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าและให้บริการอย่างมีคุณภาพสอดคล้องมาตรฐานสากล ส่งผลให้บริษัทได้รับความไว้วางใจกับคู่ค้ามากกว่า 50 ประเทศจากทั่วโลก และบริษัทมีการดำเนินโปรแกรมการพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงานอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบผ่านกระบวนการ QCC ซึ่งในทุกปีพนักงานของบริษัทที่ผ่านการพัฒนาความรู้ QCC นี้ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดนำเสนอผลงานในระดับประเทศ และนานาชาติ แล้วสามารถได้รับรางวัลระดับ Gold ได้ทุกปี เป็นที่ภาคภูมิใจของพนักงาน ครอบครัวของพนักงาน และองค์กร
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย