02-01-2025
PC Wire (Prestressed Concrete Wire) เป็นลวดเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงสูง ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเพื่อใช้งานในงานก่อสร้างที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต โดย "Prestressed" หมายถึง การให้แรงดึงกับลวดเหล็กก่อนที่จะเทคอนกรีตรอบ ๆ เพื่อให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึงได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันการแตกร้าวของโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย (มอก.) สำหรับ PC Wireในประเทศไทย การผลิตและใช้งาน PC Wire ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. โดยเฉพาะ มอก. 95-2540 ซึ่งระบุข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติของวัสดุ: PC Wire ต้องผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผ่านการอบชุบความร้อนและดึงเย็น เพื่อให้มีค่าความแข็งแรงและความทนทานที่เหมาะสม ขนาดและความคลาดเคลื่อน: กำหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเหล็กและความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ คุณสมบัติเชิงกล: เช่น ค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) และค่าความยืดตัว (Elongation) ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กระบวนการทดสอบ: ลวดเหล็กต้องผ่านการทดสอบต่าง ๆ เช่น การทดสอบแรงดึง การทดสอบความแข็งแรง และการตรวจสอบผิววัสดุ การปฏิบัติตามมาตรฐาน มอก. ไม่เพียงช่วยให้โครงสร้างมีความปลอดภัย แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้อดีของ PC Wire : ความแข็งแรงสูง: PC Wire มีค่ากำลังรับแรงดึงสูงกว่าเหล็กทั่วไป ทำให้สามารถใช้งานในโครงสร้างที่ต้องการความทนทานสูงได้ ลดน้ำหนักโครงสร้าง: ด้วยคุณสมบัติที่สามารถรับแรงดึงได้สูง จึงช่วยลดปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ในโครงสร้างได้ อายุการใช้งานยาวนาน: การเสริมกำลังด้วย PC Wire ช่วยลดโอกาสที่โครงสร้างจะเกิดการแตกร้าวและเสื่อมสภาพเร็ว มาตรฐานที่รองรับ: การผลิตตามมาตรฐาน มอก. ช่วยเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย การนำ PC Wire ไปใช้งาน : สะพานและทางยกระดับ: ใช้เสริมแรงในคานสะพานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและลดโอกาสการแตกร้าว แผ่นพื้นสำเร็จรูป: ใช้ในแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับอาคารสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก เสาเข็มและกำแพงกันดิน: ใช้ในโครงสร้างที่ต้องการรองรับแรงดันดินหรือแรงน้ำ งานก่อสร้างโครงสร้างสำคัญ: เช่น สนามกีฬา อาคารขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างใต้ดินที่ต้องการความมั่นคงสูง PC Wire จึงเป็นวัสดุที่ขาดไม่ได้ในงานก่อสร้างยุคใหม่ โดยเฉพาะโครงการที่เน้นความแข็งแรง ทนทาน และสอดคล้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนด สั่งซื้อ PC Wire ได้จากที่ไหน? SIW คือผู้ผลิตและจำหน่าย PC Wire ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. 95-2540 และมาตรฐานสากลอีกกว่า 70+ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการรับรอง Environmental Product Declaration (EPD) https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire
20-06-2025
ตอกย้ำความเป็นผู้นำ! การันตีด้วยมาตรฐานระดับโลกตลอด 30 ปีบนเส้นทางแห่งการเป็นผู้ผลิต "ลวดเหล็กกล้าอัดแรง" ชั้นนำ เรายึดมั่นในคุณภาพและความรับผิดชอบในทุกกระบวนการ ความทุ่มเทของเราได้รับการพิสูจน์ผ่านรางวัลและมาตรฐานอันทรงเกียรติมากมาย ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความไว้วางใจจากทุกภาคส่วน ด้านอุตสาหกรรมสีเขียวและความยั่งยืน:- อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (วัฒนธรรมสีเขียว)- รางวัล CSR-DIW (พ.ศ. 2546 - 2567)- รางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย- มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม: แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม (มอก. 9999) ด้านแรงงานและอาชีวอนามัย:- รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน (พ.ศ. 2552 - 2567)- มาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2546)- รางวัลสถานประกอบกิจการต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยฯ ด้านจรรยาบรรณและความโปร่งใส:- รางวัลประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย (TCC BEST Awards)- รางวัลองค์กรโปร่งใส (NACC Integrity Awards)ความสำเร็จทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้เพราะการสนับสนุนจากลูกค้า คู่ค้า และความทุ่มเทของพนักงานทุกคน เราขอขอบคุณจากใจจริง และจะมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าสู่สังคมและอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
10-06-2025
มั่นใจทุกเส้น แข็งแรงทุกจุด ด้วยงานควบคุมคุณภาพจาก SIW เพื่อลวดเหล็กมาตรฐานระดับโลก! เพราะ “ลวดเหล็ก” ไม่ใช่แค่เส้นเหล็กธรรมดา แต่เป็นหัวใจของงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงและปลอดภัยสูงสุด SIW ใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต พร้อมการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่า ลูกค้าจะได้รับลวดเหล็กที่ดีที่สุดในทุกล็อต ตรวจแรงดึง ผ่านการทดสอบแรงดึงตามมาตรฐาน ช่วยให้ลวดเหล็กของ SIW ทนต่อแรงดึงสูง ไม่เปราะ ไม่ขาดระหว่างใช้งาน เสริมความแข็งแรงให้โครงสร้างมั่นคงในระยะยาว ตรวจเส้นผ่านศูนย์กลาง ลวดเหล็กทุกเส้นผลิตอย่างแม่นยำตามมาตรฐาน ช่วยให้คำนวณปริมาณวัสดุได้แม่นยำ ประกอบงานง่าย และลดของเสีย ตรวจสอบสนิม ป้องกันสนิมตั้งแต่กระบวนการผลิต ช่วยให้งานก่อสร้างมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่เสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพหรือพังทลายก่อนเวลาอันควร รับรองมาตรฐานระดับโลก SIW ผ่านมาตรฐานทั้งระดับประเทศ (มอก.) และระดับสากล (NATA) ใช้งานได้ในทุกโครงการ มั่นใจ ปลอดภัย ตรวจสอบได้ พร้อมใบรับรองคุณภาพ (QC Certificate) ทุกล็อต ลวดเหล็ก SIW ถูกเลือกใช้ในโครงการสำคัญระดับประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยคุณภาพที่สม่ำเสมอ และบริการที่เชื่อถือได้ เลือกใช้ลวดเหล็กจาก SIW ที่ผ่าน QC อย่างแท้จริง เพื่อความมั่นใจในโครงการ และอนาคตของทุกงานก่อสร้าง
08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
01-05-2023
การบ่มคอนกรีต (Curing) คือ วิธีการควบคุมและป้องกันไม่ให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น (hydration) ของซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ของการบ่มคอนกรีต : 1. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังและความทนทานสูงสุด 2. เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม และลดการระเหยของน้ำ เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีการบ่มคอนกรีตที่นิยมใช้ : 1. ใช้การฉีดน้ำเป็นระยะเพื่อไม่ให้คอนกรีตแห้ง 2. ใช้พลาสติกคลุมหลังจากฉีดน้ำแล้วเพื่อป้องกันน้ำระเหยออก 3. ใช้กระสอบชุบน้ำหุ้มคอนกรีต 4. ใช้น้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย