10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
13-09-2024
ประหยัดจริงไหม?อัตราค่าบริการทดสอบลวดโดย Testing Service Centerเหมาะสำหรับผู้ผลิตหรือผู้ใช้งานลวดเหล็ก PC Wire และ PC Strand ที่ต้องการผลทดสอบคุณภาพสินค้าตามมาตรฐานต่างๆ ด้วยห้องแล็บจาก SIW ที่มีความเชียวชาญด้านการทดสอบคุณภาพลวดเหล็กอัดแรงกว่า 30 ปี✔️สะดวก รวดเร็ว ประหยัด✔️ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก NATA (National Association of Testing Authorities, Australia)✔️รายงานผลละเอียด ชัดเจน สอบกลับได้ทุกขั้นตอน พร้อมการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง✔️อุปกรณ์ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ความแม่นยำมากกว่า 99.95%✔️ปรับแต่งการทดสอบได้ยืดหยุ่น ตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการทดสอบที่เฉพาะเจาะจงข้อมูลบริการ:1. Fatigue Testing Machine (เครื่องทดสอบความล้า)- แบรนด์: Zwick Roell รุ่น HA500- รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, BS 5896, LNEC E 542, LNEC E 453, ISO 15630 Part 3, TIS 95-2540, TIS 420-2540- PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม.- PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม.- Deformed Bar: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 40 มม.2. Relaxation Testing Machine (เครื่องทดสอบความผ่อนคลาย)- รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, ASTM A416/A416M, ASTM A421/A421M, ASTM A881, BS 5896, ISO 15630-3, JIS G3536, TIS 95-2540, TIS 420-2540- PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 300 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 9 มม.- PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.3 – 18.0 มม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: >>คลิ๊ก<< ลวดเหล็กได้มาตรฐานง่ายดายด้วยบริการการทดสอบลวดเหล็กจาก SIW Testing Service Center บริการทดสอบคุณภาพเหล็กลวดครบวงจร ทั้ง Fatigue Test, Relaxation Test, Tensile Test, Salt Spray Test และ Chemical Analysis ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและความแม่นยำสูงถึง 99.95% บริการสะดวก คุ้มค่า และปรับแต่งได้ตามต้องการ ให้ SIW ช่วยให้ลวดเหล็กของคุณได้มาตรฐานระดับสากลและตอบโจทย์ลูกค้า สอบถามเพิ่มเติม: (+66)2-937-0060 Email: marketing@siw.co.th www.siw.co.th
15-05-2025
“ผนังร้าวจากแผ่นดินไหวยังไม่พอ…ฝนตกยิ่งน้ำรั่วซึม” หลายพื้นที่เพิ่งเจอแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แล้วก็เริ่มพบว่า “ผนังรั่วซึม” เมื่อฝนตกตามมา หากเจอแบบนี้ อย่าเพิ่งตกใจ เราขอแนะนำวิธีแก้เร่งด่วนเบื้องต้นที่คุณทำได้เอง: 1. หาต้นตอรอยร้าว – ส่องให้ดีว่ารั่วมาจุดไหน แนวร้าวแนวตั้ง/เฉียง หรือแค่ผิวปูน 2. ทำความสะอาดรอยร้าว – ใช้แปรงหรือผ้าชุบน้ำ เช็ดคราบฝุ่นและสิ่งสกปรก 3. อุดด้วยซิลิโคนหรือซีเมนต์กันซึม – แบบสำเร็จรูป หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้าง ใช้งานง่าย 4. ปิดทับด้วยเทปกันซึม/ฟิล์มกันน้ำ (ชั่วคราว) – ถ้าไม่มีเวลา ให้ปิดกันน้ำเข้าไว้ก่อน 5. หลีกเลี่ยงการทาสีหรือฉาบทับทันที – เพราะจะดักความชื้นไว้ ทำให้เชื้อราขึ้นง่าย แต่ทั้งหมดนี้เป็นแค่ “มาตรการชั่วคราว” เพื่อรอให้โครงสร้างนิ่งแล้วค่อยซ่อมถาวร โดยอาจต้องปรึกษาวิศวกรหรือตรวจสอบความปลอดภัยของโครงสร้างก่อน อย่าปล่อยให้รอยร้าวกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต **ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับขนาดรอยร้าว #รอยรั่วหลังแผ่นดินไหว #บ้านรั่วทำไงดี #กันซึมDIY #วิธีแก้น้ำซึมเร่งด่วน #ปลอดภัยไว้ก่อน
26-05-2025
PC Strand เกรดพิเศษทนแรงแผ่นดินไหว — "มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับชีวิต ที่มากไปกว่าความแข็งแรง" ในสถานการณ์แผ่นดินไหว วินาทีที่โครงสร้างเริ่มเสียหายอาจเป็นตัวแปรที่ตัดสินความเป็นความตาย การออกแบบโครงสร้างให้สามารถ"ถ่วงเวลา"การวิบัติ (Collapse) ได้จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้มีเวลาเพียงพอในการอพยพออกจากสิ่งก่อสร้างได้อย่างปลอดภัย ที่สยามลวดเหล็กฯ (#SIW) เราให้ความสำคัญกับทุกคุณสมบัติทางกลของลวด PC Strand ซึ่งจำเป็นในฐานะองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของงานออกแบบทางวิศวกรรมโยธา โดยสินค้าพิเศษทนแรงแผ่นดินไหวของ SIW จะมีค่า Force Ratio ที่สูงกว่ามาตรฐานทั่วไป - ค่า Force Ratio (อัตราส่วนระหว่างการรับแรงดึงขาด/ Breaking Load กับการรับแรงดึงจุดคราก/ Yield Load) ที่สูงกว่ามาตรฐานทั่วไปของ SIW PC Strand หมายถึงวัสดุจะยังไม่ล้มเหลว (Failure) ทันทีเมื่อผ่านจุดคราก - ซึ่งช่วยเพิ่มระยะเวลาที่โครงสร้างจะทนแรงสั่นสะเทือนได้นานขึ้น ช่วย "ถ่วงเวลา"การวิบัติ (Collapse) ของโครงสร้างได้ ทำให้มีเวลาเพียงพอในการอพยพออกจากสิ่งก่อสร้างได้อย่างปลอดภัย - นอกจากนั้นการยืดตัว/ การเปลี่ยนรูป แบบถาวร (Plastic Deformation) ที่มากขึ้นจากค่า Force Ratio ที่สูงของ SIW PC Strand ทำให้สามารถนำไปใช้ออกแบบโครงสร้างแบบ Plasticity ซึ่งเน้นคุณสมบัติความยืดหยุ่น (Ductile Behavior) - และเมื่อมีแรงสั่นสะเทือนจะทำให้เกิดการแตกร้าวที่รุนแรงและชัดเจน (Serious Cracking)ให้เห็นก่อนโครงสร้างจะเกิดการวิบัติ (Collapse) เป็นสัญญานเตือนให้สามารถแก้ไขป้องกันหรือให้หลบหนีได้ทันท่วงที - และยังลดโอกาสของการถล่มแบบฉับพลัน (Abrupt Collapsing) เนื่องจากการออกแบบด้วยทฤษฎี Plasticity จะช่วยลดโอกาสที่คอนกรีตจะล้มเหลว อันนำไปสู่การพังทลายแบบฉับพลัน (Nature Abrupt) เพิ่มโอกาสในการหลบหนีออกจากอาคารที่กำลังเสียหายช่วยลดความสูญเสีย SIW มีการผลิตและจำหน่าย PC Strand เกรดพิเศษ ที่มีค่า Force Ratio ที่สูงกว่ามาตรฐานทั่วไปไปยังประเทศ Denmark ตามมาตรฐาน FprEN 10138-1&-3:2009 โดยมี มอก. FI Marking ของประเทศ Denmark รับรอง ที่ SIW เราตระหนักถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติและคุณค่าของทุกชีวิต SIW จึงไม่หยุดแค่สินค้าที่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่ยังพัฒนาสินค้าที่สร้างความมั่นใจและดูแลทุกชีวิตให้ปลอดภัย
26-12-2024
ยานพาหนะไฟฟ้า ก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้าน ESG: SIW ได้มีการปรับเปลี่ยนยานพาหนะในองค์กรเป็นรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกไฟฟ้า (Electric Trucks) หรือรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
08-06-2022
น้ำหนักของตะแกรงเหล็กก็มีความสำคัญมากในการสั่งซื้อเพราะ จะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย ( ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น ) ตามภาพ ถึงอย่างไร น้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงเหล็กมากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด ถ้าต้องการทราบว่าน้ำหนักที่ถูกต้องก็ สามารถสอบถาม กลับมาทาง บริษัทสยามลวดเหล็กได้ เนื่องจากมีวิศวกร คอยให้ความรู้ และ สามารถสอบถามราคาได้ จึงมีความมั่นใจได้ว่า เหล็กของสยามลวด นั้น เป็นเหล็กเต็มขนาด และมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้ตามมาตรฐาน มอก.
08-06-2022
เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก แบ่ง เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นผสม- อยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจาก หลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และใน ชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน 2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่า เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับ งานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น 3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความแข็งความแข็งแรงและความเค้น- แรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ ใช้ในการทำ เครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น สินค้าที่ สยามลวดสามารถผลิตได้นั้น มีเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ หรือ (Low Carbon Steel) 1.ลวดเหล็กคาร์บอนต่ำ หรือที่เรียกว่า (Cold drawn) คือเหล็กที่ผลิตมาจากเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rods) โดยผ่านกระบวนการนำเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำมา รีดลดขนาดโดยการรีดเย็น จนเป็นผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ มักใช้กับงานผูกเหล็ก ตะปู ตาข่าย และ ทำปลอกเสาเข็ม และสยามลวด นั้นสามารถผลิตได้ตั้งแต่ขนาด 6-12 mm. น้ำหนักต่อม้วนตั้งแต่ 250 kg - 2500 kg 2.เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) ที่เรียกว่า ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE , PC STRAND นั่นเอง มักใช้กับงานแผ่นพิ้น เสาเข็ม เสาไฟฟ้า หมอนรองรางรถไฟ และคานสะพาน เป็นต้น และสามารถผลิต PC WIRE ได้ตั้งแต่ขนาด 4-9 mm. และ PC STRAND ขนาด 9.3 , 9.5 , 12.7 และ 15.2 mm.
13-05-2025
ความยั่งยืนไม่ใช่แค่เป้าหมาย แต่คือความรับผิดชอบของเรา ที่ SIW เรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมลวดเหล็กสู่อนาคตที่ยั่งยืน ตั้งแต่การลดการปล่อยคาร์บอน การปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ไปจนถึงการนำ เทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างต่อเนื่อง—ทุกย่างก้าวของเราดำเนินไปตามเป้าหมายเดียวคือ บรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2050 ขอบคุณวิสัยทัศน์จากกรรมการผู้จัดการของเรา คุณศรีวัทสัน จันทรเศกรัน ถึงเป้าหมายสู่อนาคตที่ยั่งยืนของ SIW
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย