07-08-2023
สนิมผิวและสนิมขุมต่างกันอย่างไร?สนิมผิว คือ สนิมที่เกาะที่ผิวของเหล็กผิวของเหล็กนั้นยังไม่ถูกกัดกร่อนจนขรุขระหรือเป็นหลุมกินเนื้อเหล็กเข้าไปจากผิวไม่ทำให้เกิดความเสียหายสนิมขุม คือ สนิมซึ่งเกิดที่ผิวโลหะเป็นเวลานานแล้วทำให้ผิวโลหะโดนกัดลึกเข้าไปในเนื้อเหล็กทำให้เนื้อเหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้งานได้กลไกลการเกิดสนิมเมื่อโลหะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือถูกออกซิไดซ์ จะมีการกร่อนของโลหะนั้นๆ เกิดขึ้น ดังนั้นหลักของการป้องกันการกร่อนก็คือ การป้องกันไม่ให้โลหะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันนั่นเองโลหะที่มีค่าครึ่งเซลล์รีดักชันสูงที่สุดได้แก่ ทองคำจะสามารถทนต่อการกร่อนได้มากที่สุด ทองคำจึงเป็นโลหะมีค่า แพลตินัม เงิน และทองแดงที่มีค่าครึ่งเซลล์รีดักชันเป็นบวกก็มีความสามารถทนต่อการกร่อนได้ดีรองลงมา ส่วนโลหะอื่น ๆ ก็จะเป็นโลหะที่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย นั่นคือมีโอกาสกร่อนได้ง่ายกว่า ตัวอย่างการกร่อนที่พบได้บ่อยและชัดเจนคือการเกิดสนิมเหล็กหรือการเกิดออกไซด์ของเหล็ก เหล็กเป็นสนิมได้ก็ต่อเมื่อมีแก๊สออกซิเจนและน้ำอยู่ด้วย ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็กค่อนข้างซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะตัว แต่เชื่อว่ามีขั้นตอนที่สำคัญ คือปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้นเมื่อพื้นผิวส่วนหนึ่งของเหล็กทำหน้าที่เป็นแอโนด ดังสมการ Fe(s) Fe2+(aq) + 2e- ออกซิเจนถูกรีดิวซ์ที่ผิวอีกส่วนหนึ่งของเหล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นแคโทด เมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ดังสมการ 2O2 (g) + 4H2O(l) + 8e- 8OH-(aq) และมีปฏิกิริยาต่อเนื่องต่อไปคือ 4Fe2+(aq) + 8OH-(aq) 4Fe(OH)2 (aq)ที่มา: https://il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/electrochem04.htm
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
15-01-2025
ผู้นำ Gen Y บทบาทที่เปลี่ยนแปลงอนาคตองค์กร คุณณพิชเศรษฐ์ ไชยนาพงศ์ ผู้จัดการแผนกวางแผนความต้องการขายและตลาด ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ “การที่ผมเติบโตมาในช่วงกลางของ Gen Y ทำให้ผมได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี จากยุคอนาล็อกเข้าสู่ดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ในปัจจุบัน ประสบการณ์นี้หล่อหลอมวิธีคิด และเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานของผมมาจนถึงวันนี้ ในมุมมองของผม การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป แต่มันคือสิ่งจำเป็น ผมจำได้ดีว่าช่วงแรกที่เข้ามาทำงานที่ SIW เราใช้เอกสารกระดาษเป็นหลัก จนบางครั้งเอกสารกองจนแทบไม่มีที่เก็บ แต่ในวันนี้ เราเห็นความแตกต่างไปอย่างมาก เอกสารหลายตัวไม่จำเป็นต้องพิมเป็นกระดาษอีกต่อไป และถูกนำเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ เรายังสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเพื่อหาความต้องการตลาด รวมไปถึงศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ผลลัพธ์คือการตัดสินใจที่แม่นยำและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น อีกหนึ่งเทรนด์ที่มาแรงและสำคัญไม่แพ้กันคือ “ความยั่งยืน” ซึ่งในมุมมองของผม มันไม่ได้เป็นเพียงคำพูดสวยหรู แต่คือความรับผิดชอบระดับสากลที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ SIW ได้พัฒนากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การควบคุมปริมาณการปล่อยคาร์บอน การริเริ่มโครงการ “วันไร่ฟาร์ม” และการจัดกิจกรรม CSR ที่สร้างความร่วมมือกับชุมชน เราคิดมาเสมอว่าเราต้องเติบโตอย่างมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและโลกของเราด้วย ในฐานะคน Gen Y ผมมองว่า SIW เรามีข้อได้เปรียบจาก Genaration Gap กล่าวคือ เรามีไอเดียที่สดใหม่จากน้องๆ ในทีม และได้รับประสบการณ์อันล้ำค่าจากพี่ๆ ความสำเร็จขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือการผสานพลังของทุกเจเนอเรชันเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ลืมสิ่งเก่าๆ และพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน ท้ายที่สุด ผมเชื่อว่า การทำงานในยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ต้องอาศัยทั้งความยืดหยุ่น การเปิดใจรับฟัง และความร่วมมือจากทุกฝ่าย ด้วยความมุ่งมั่นของพวกเราทุกคน ผมมั่นใจว่า SIW จะสามารถก้าวผ่านทุกความท้าทาย และเติบโตอย่างมั่นคงในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
03-11-2022
การซื้อตะแกรงเหล็กไวร์เมชไม่เต็ม ดูเหมือนจะซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่า เพราะจ่ายเงินบาท/ตร.ม.น้อยกว่า แต่ความเป็นจริงลูกค้า ซื้อของราคาเท่ากัน แต่ได้ตะแกรงเหล็กไวร์น้ำหนักน้อยกว่าปกติมาก เพราะพื้นที่หน้าตัดที่ลดลง และสินค้าที่ได้นั้นจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่ถูกต้อง จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ลวดขนาดต่างกันเพียง 0.3 มม. แต่น้ำหนักน้อยกว่าปกติถึง 9.76 % ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพงานก่อสร้างของลูกค้าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ลูกค้าจะหมดความกังวลเหล่านี้หากซื้อสินค้าตะแกรงเหล็กไวร์ของเรา เพราะตะแกรงเหล็กไวร์เมชของ สยามลวดเหล็กฯ เป็นเหล็กเต็มขนาด ได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้า และ ความใส่ใจใน การผลิตในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เลือกดูสินค้า: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
10-03-2023
“การตอบสนองและแก้ปัญหาได้รวดเร็วคือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ” มาฟังแนวคิดในการดำเนินธุรกิจและประสบการณ์การทำงานร่วมกับสยามลวดเหล็กฯ จากคุณประวัติ เกลียวปิยะ (กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เอ็น.ซี.เรียลเอสเตท จำกัด และ บริษัท พี.เอ็น.ซี.คอนกรีต จำกัด)
15-11-2024
"Gen Z: Driving Change Toward Unlimited Growth" พบกับ Chayangkoon Arunchaiwat จากทีม Country Sales (Indian Subcontinent) กับมุมมองคนรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร "Since I have been one of the member of SIW, I can feel that the work environment right here is comfy and flexible. Some fresh ideas can be generated by younger generation like me. Moreover, teamwork is also a milestone to achieve our goals." Chayangkoon Arunchaiwat Country Sales - Indian Subcontinent
16-12-2024
เทรนด์การก่อสร้างที่น่าจับตามอง ในปี 2025 เทรนด์การก่อสร้างในปัจจุบันไม่ได้เพียงแค่เน้นการพัฒนาโครงสร้างที่ทันสมัยและแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกมาใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน การก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) ในปัจจุบัน แนวคิดการก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากสอดคล้องกับหลักการ ESG ที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น • การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • เทคนิคการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง • การจัดการของเสียด้วยการคัดแยกและจัดการเศษวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดนี้ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อสร้างโครงสร้างที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่กระทบต่อทรัพยากรในอนาคต เทคโนโลยีดิจิทัลในงานก่อสร้าง (Digital Technology in Construction) เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น • IoT (Internet of Things): อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพื่อเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น การตรวจสอบความปลอดภัยในไซต์งาน • AI (Artificial Intelligence): ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย • ระบบ BIM กับการออกแบบโครงสร้างอย่างแม่นยำ: ช่วยออกแบบโครงสร้างและจัดการโครงการอย่างแม่นยำ ลดการสิ้นเปลืองวัสดุและข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี เช่น โดรนสำรวจพื้นที่แบบ 3 มิติ และ AR/VR สำหรับการออกแบบเสมือนจริง ซึ่งช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการก่อสร้าง เพิ่มความปลอดภัย และช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำยิ่งขึ้น การใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังเติบโต โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น • หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Roofs) : ช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • พลังงานจากลม (Wind Energy) : ใช้พลังงานลมเพื่อลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงานสะอาดไม่เพียงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุนพลังงานและสร้างโครงสร้างที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงาน (Prefabrication) การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงานเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญ โดยมีการออกแบบและผลิตองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้น เสา และหลังคา ในโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพ ก่อนนำไปประกอบในไซต์งานจริง วิธีนี้ช่วยเร่งความเร็วในการก่อสร้างและลดความยุ่งยากในไซต์งาน ปัจจุบัน SIW ก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์การก่อสร้างที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) หรือการสนับสนุนการก่อสร้างอย่างยั่งยืนผ่านการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลจากเทคโนโลยี EAF นอกจากนี้ SIW ยังได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 (Green Industry Level 4) และกำลังดำเนินแผนสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย