สนิมผิวและสนิมขุมต่างกันอย่างไร?
สนิมผิว คือ สนิมที่เกาะที่ผิวของเหล็กผิวของเหล็กนั้นยังไม่ถูกกัดกร่อนจนขรุขระหรือเป็นหลุมกินเนื้อเหล็กเข้าไปจากผิวไม่ทำให้เกิดความเสีย
หายสนิมขุม คือ สนิมซึ่งเกิดที่ผิวโลหะเป็นเวลานานแล้วทำให้ผิวโลหะโดนกัดลึกเข้าไปในเนื้อเหล็กทำให้เนื้อเหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้งานได้
กลไกลการเกิดสนิม
เมื่อโลหะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือถูกออกซิไดซ์ จะมีการกร่อนของโลหะนั้นๆ เกิดขึ้น ดังนั้นหลักของการป้องกันการกร่อนก็คือ การป้องกันไม่ให้โลหะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันนั่นเองโลหะที่มีค่าครึ่งเซลล์รีดักชันสูงที่สุดได้แก่ ทองคำจะสามารถทนต่อการกร่อนได้มากที่สุด ทองคำจึงเป็นโลหะมีค่า แพลตินัม เงิน และทองแดงที่มีค่าครึ่งเซลล์รีดักชันเป็นบวกก็มีความสามารถทนต่อการกร่อนได้ดีรองลงมา ส่วนโลหะอื่น ๆ ก็จะเป็นโลหะที่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย นั่นคือมีโอกาสกร่อนได้ง่ายกว่า ตัวอย่างการกร่อนที่พบได้บ่อยและชัดเจนคือการเกิดสนิมเหล็กหรือการเกิดออกไซด์ของเหล็ก เหล็กเป็นสนิมได้ก็ต่อเมื่อมีแก๊สออกซิเจนและน้ำอยู่ด้วย ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็กค่อนข้างซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะตัว แต่เชื่อว่ามีขั้นตอนที่สำคัญ คือ
ปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้นเมื่อพื้นผิวส่วนหนึ่งของเหล็กทำหน้าที่เป็นแอโนด ดังสมการ Fe(s) Fe2+(aq) + 2e- ออกซิเจนถูกรีดิวซ์ที่ผิวอีกส่วนหนึ่งของเหล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นแคโทด เมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ดังสมการ 2O2 (g) + 4H2O(l) + 8e- 8OH-(aq) และมีปฏิกิริยาต่อเนื่องต่อไปคือ 4Fe2+(aq) + 8OH-(aq) 4Fe(OH)2 (aq)
ที่มา: https://il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/electrochem04.htm
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย