28-08-2024
Managing Director ของสยามลวดเหล็กฯ ผู้มากด้วยประสบการณ์และมีวิสัยทัศน์ร่วมกับเราในการสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้น เรามุ่งมั่นที่จะยกระดับมาตรฐานความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมลวดเหล็ก และมีความมุ่งมั่นที่จะไม่หยุดยั้งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความยั่งยืนในอุตสาหกรรม “SIW: Forging Ahead in Steel Wire with Cutting-Edge Innovation and a Strong Commitment to a Sustainable Tomorrow.” Srivatson C. Managing Director
08-06-2022
เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
15-11-2024
"Gen Z: Driving Change Toward Unlimited Growth" พบกับ Chayangkoon Arunchaiwat จากทีม Country Sales (Indian Subcontinent) กับมุมมองคนรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร "Since I have been one of the member of SIW, I can feel that the work environment right here is comfy and flexible. Some fresh ideas can be generated by younger generation like me. Moreover, teamwork is also a milestone to achieve our goals." Chayangkoon Arunchaiwat Country Sales - Indian Subcontinent
20-01-2025
“5 อันดับบริการทดสอบลวดจาก SIW - Testing Service Center” ด้วยอุปกรณ์ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ความแม่นยำมากกว่า 99.95% และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก NATA (National Association of Testing Authorities, Australia) ข้อมูลบริการ Tensile Testing Machine (เครื่องทดสอบแรงดึงวัสดุ) : บริการวัดความสามารถของลวดเหล็กในการรับแรงดึง โดยใช้ video extensometer เพื่อวัดค่า Yield, Modulus และ Agt Fatigue Testing Machine (เครื่องทดสอบความล้า) : รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, มีบริการถ่ายภาพรอยแตก ระบุจุดกำเนิดของรอยแตก (Origin Crack) และวิเคราะห์สาเหตุการขาดเบื้องต้น, มี Control Cube สำหรับการใช้งานหลายแกน และมีระบบ Vibrophore สำหรับตรวจจับการเกิดขึ้นและการขยายตัวของรอยแตก Relaxation Testing Machine (เครื่องทดสอบความผ่อนคลาย) : บริการทดสอบความผ่อนคลายของลวดเหล็ก โดยใช้ extensometer สำหรับตรวจสอบการยืดตัวของชิ้นงานทดสอบ Salt Spray Testing Machine (เครื่องจำลองสภาวะการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองเกลือบนลวดเหล็ก) : มีการรองรับมาตรฐานการทดสอบ ถึง 27 มาตรฐาน และมีฟังก์ชันเร่งการกัดกร่อน (Prohesion Function) Chemical Analysis (เครื่องตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีของลวดเหล็ก) : จำนวนธาตุที่ทดสอบให้ลูกค้า มากกว่า 20 ธาตุ, มีระบบการปรับเทียบ (Re-Calibration) อัตโนมัติ, มีฟังก์ชันการยิงตามประเภทของโลหะเพื่อความแม่นยำ และบริการระบุประเภทของโลหะตามความต้องการของลูกค้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SIW - Testing Service Center Tel: +66 81 170 2571 Email: marketing@siw.co.th LineID: @siwthailand
18-08-2022
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมส่งมอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้า ขนาด 5 มม. และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ขนาด 9.3 มม. (PC Wire และ PC Strand) แก่คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 เส้น อีกทั้งยังมีการแนะนำอบรมกระบวนการผลิต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สยามลวดเหล็กฯ มีความยินดีที่จะส่งเสริมสร้างสรรค์การพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในวิชาชีพและต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมในอนาคต
29-04-2025
Motorway สาย M6 คืออีกหนึ่งโครงการที่ใช้ลวดอัดแรง PC Strand ของ SIW ลวดเหล็กอัดแรง PC Strand ของ SIW ถูกนำไปใช้โครงการขนาดใหญ่ทั่วโลก ด้วยมาตรฐานรับรองกว่า 70 ประเทศทั่วโลก และยังเป็นสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจากการใช้ลวดวัตถุดิบที่มีส่วนผสมหลักจากวัสดุรีไซเคิล #motorway #M6
04-12-2024
พื้นถนนคอนกรีต vs ถนนลาดยาง: เลือกแบบไหนดีกว่ากัน? การเลือกวัสดุสำหรับการก่อสร้างถนนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ อายุการใช้งาน และต้นทุนโดยรวม ทั้งพื้นถนนคอนกรีตและถนนลาดยางเป็นสองตัวเลือกหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน ถนนลาดยาง ถนนลาดยางมีความยืดหยุ่นและให้พื้นผิวเรียบลื่นมากกว่า แต่มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงหรือฝนตกหนัก ซึ่งส่งผลให้เสื่อมสภาพเร็วกว่า มีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี ถนนลาดยางเหมาะสำหรับพื้นที่ทั่วไปและโครงการขนาดเล็ก ข้อดี • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่ำกว่า • ก่อสร้างได้รวดเร็ว ใช้งานได้ทันทีหลังลาดยางเสร็จ • ซ่อมบำรุงง่ายและรวดเร็ว โดยใช้เทคนิค Re-surface (การปูผิวถนนใหม่) ข้อเสีย • เสื่อมสภาพเร็วกว่าคอนกรีต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือน้ำท่วม • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง เนื่องจากต้องซ่อมแซมบ่อย ถนนคอนกรีต ถนนคอนกรีตเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย และเหล็กเสริม เช่น Wire Mesh ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทนทาน อายุการใช้งานเฉลี่ย 20-40 ปี เหมาะสำหรับโครงการขนาดใหญ่และถนนที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทางหลวง สะพาน หรือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ข้อดี • ความแข็งแรงและทนทานสูง รองรับน้ำหนักบรรทุกหนักได้ดี • พื้นผิวเสถียร มีความเรียบและลดการทรุดตัว • คุ้มค่าในระยะยาว มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ เพราะมีความทนทานต่อการใช้งานระยะยาว ข้อเสีย • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่า • ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน เนื่องจากต้องรอให้คอนกรีตเซ็ตตัวและแข็งแรงก่อนเปิดใช้งาน • ซ่อมบำรุงยาก เนื่องจากการซ่อมแซมคอนกรีตมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง การเลือกวัสดุระหว่างถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางนั้น ควรพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากลักษณะการใช้งาน งบประมาณ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อให้ถนนตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม และทางสยามลวดเองก็มีตะแกรงเหล็ก Wire Mesh คุณภาพสูงที่เหมาะสำหรับการทำพื้นคอนกรีต ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.) โดยได้รับการรับรอง มอก. 737 สำหรับแบบธรรมดา และ มอก. 926 สำหรับแบบข้ออ้อย/ยาง Wire Mesh : https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย