เพราะเหตุใดงานเสาเข็มของ บี.เค.เค.ไพล์ลิ่ง ถึงโดดเด่นไม่เหมือนใคร? หาคำตอบกันได้ในคลิปนี้
08-06-2022
เหล็กกล้าที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก แบ่ง เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.25% นอกจากคาร์บอนแล้ว ยังมีธาตุอื่นผสม- อยู่ด้วย เช่น แมงกานีส ซิลิคอน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน แต่มีปริมาณน้อยเนื่องจาก หลงเหลือมาจากกระบวนการผลิต เหล็กประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม และใน ชีวิตประจำวันไม่ต่ำกว่า 90% เนื่องจากขึ้นรูปง่าย เชื่อมง่าย และราคาไม่แพง โดยเฉพาะเหล็กแผ่นมีการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น ตัวถังรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ กระป๋องบรรจุอาหาร สังกะสีมุงหลังคา เครื่องใช้ในครัวเรือน และในสำนักงาน 2. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.2-0.5% มีความแข็งแรงและความเค้นแรงดึงมากกว่า เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ แต่จะมีความเหนียวน้อยกว่า สามารถนำไปชุบแข็งได้ เหมาะกับ งานทำชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางรถไฟ เฟือง ก้านสูบ ท่อเหล็ก ไขควง เป็นต้น 3. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอน 0.5 - 1.5% มีความแข็งความแข็งแรงและความเค้น- แรงดึงสูง เมื่อชุบแข็งแล้วจะเปราะ เหมาะสำหรับงานที่ทนต่อการสึกหรอ ใช้ในการทำ เครื่องมือ สปริงแหนบ ลูกปืน เป็นต้น สินค้าที่ สยามลวดสามารถผลิตได้นั้น มีเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ หรือ (Low Carbon Steel) 1.ลวดเหล็กคาร์บอนต่ำ หรือที่เรียกว่า (Cold drawn) คือเหล็กที่ผลิตมาจากเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rods) โดยผ่านกระบวนการนำเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำมา รีดลดขนาดโดยการรีดเย็น จนเป็นผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ มักใช้กับงานผูกเหล็ก ตะปู ตาข่าย และ ทำปลอกเสาเข็ม และสยามลวด นั้นสามารถผลิตได้ตั้งแต่ขนาด 6-12 mm. น้ำหนักต่อม้วนตั้งแต่ 250 kg - 2500 kg 2.เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High Carbon Steel) ที่เรียกว่า ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE , PC STRAND นั่นเอง มักใช้กับงานแผ่นพิ้น เสาเข็ม เสาไฟฟ้า หมอนรองรางรถไฟ และคานสะพาน เป็นต้น และสามารถผลิต PC WIRE ได้ตั้งแต่ขนาด 4-9 mm. และ PC STRAND ขนาด 9.3 , 9.5 , 12.7 และ 15.2 mm.
17-02-2023
ในงานก่อสร้างบ้านจัดสรรหรือคอนโดในปัจจุบันส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete กันอย่างแพร่หลายแทนการก่อสร้างแบบผนังอิฐเดิมๆ โดยเฉพาะในงานก่อสร้างหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่ต้องมีบ้านลักษณะคล้ายกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถช่วยประหยัดต้นทุนทรัพยากรในหลายด้าน เช่น เวลาและกำลังคน อีกทั้งยังสามารถควบคุมมาตรฐานได้ดีกว่าการก่อสร้างแบบก่ออิฐ และวันนี้สยามลวดเหล็กฯ จะพาไปดูกันโดยละเอียดว่าเพราะเหตุใดผนังคอนกรีตสำเร็จรูปจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักก่อสร้าง และผู้อยู่อาศัยควรปฏิบัติอย่างไรในการใช้บ้านที่สร้างจากผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) คือ? ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Precast Concrete คือชิ้นส่วนผนังบ้านหรือผนังคอนโดซึ่งจะมีการถูกหล่อขึ้นภายในโรงงานสำเร็จไว้แล้วก่อนที่จะขนย้ายเพื่อนำไปติดตั้งหน้างาน ซึ่งจะแตกต่างจากผนังอิฐฉาบปูนที่จะถูกหล่อขึ้นหน้างานโดยช่างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะมีส่วนประกอบหลักคือ เนื้อคอนกรีตและเสริมความแข็งแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn ข้อดีของผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete 1. ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เพราะสามารถหล่อผนังคอนกรีตสำเร็จรูปเตรียมไว้ในโรงงานในระหว่างประกอบฐานรากได้เลยและจึงนำมาเชื่อมประกอบหน้างาน ต่างจากผนังอิฐที่ต้องเริ่มก่อหลังจากประกอบฐานรากเสร็จแล้วเท่านั้น 2. คุณภาพได้มาตรฐานเดียวกัน เพราะมีการหล่อสำเร็จมาจากโรงงานจึงไม่ขึ้นอยู่กับฝีมือของช่างและสภาพอากาศหน้างาน 3. ใช้จำนวนแรงงานคนน้อยกว่าผนังอิฐมาก เพราะทุกชิ้นส่วนถูกหล่อสำเร็จขึ้นจากโรงงานแล้ว จึงสามารถนำมาวางติดเป็นตัวบ้านได้เลย 4. มีความแข็งแรงสูงจึงใช้แทนเสาหรือคานในการรับน้ำหนักได้ เพราะโครงสร้างประกอบด้วยคอนกรีต และยังเสริมแรงด้วยลวดตะแกรง Wire Mesh หรือ Cold Drawn และสยามลวดเหล็กฯ ก็มีจำหน่ายลวดตะแกรง Wire Mesh และ Cold Drawn ตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. พร้อมสำหรับนำไปใช้ประกอบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete และได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้เรื่องความแข็งแรง รายละเอียดสินค้า: https://www.siw.co.th/en/product-detail/wire-mesh ข้อสังเกต 1. ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป Precast Concrete จะไม่พบปัญหารอยแตกร้าวเนื่องจากชิ้นส่วนถูกหล่อขึ้นเป็นชิ้นเดียวกัน แต่อาจพบปัญหาน้ำรั่วซึมตามขอบรอยต่อผนังได้หากการเชื่อมติดไม่แน่นหนาพอ 2. การเจาะทุบผนังออกต้องได้รับคำแนะนำจากวิศวกรหากผนังชิ้นนั้นมีส่วนในการรับน้ำหนักของตัวโครงสร้าง
05-07-2023
เสาเข็มควรเจาะลึกแค่ไหน? บ้านจึงปลอดภัยเสาเข็มเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการรับน้ำหนักและถ่ายน้ำหนักของอาคารไปชั้นดิน การถ่ายน้ำหนักของเสาเข็มนั้นเกิดขึ้นระหว่างแรงเสียดทานระหว่างดินกับพื้นผิวของเสาเข็ม หรือโดยการถ่ายแรงโดยตรงไปยังชั้นดินหรือหินแข็ง วัตถุประสงค์หลักของการใช้เสาเข็มคือป้องกันอาคารหรือบ้านให้มีเสถียรภาพหรือทรุดลงในดินเสาเข็มที่ใช้ในอาคารขนาดเล็กจะเป็นเสาเข็มที่มีความยาวไม่มากและจำนวนไม่มาก แต่ในอาคารขนาดใหญ่ก็จะใช้เสาเข็มจำนวนมากขึ้นหรือเสาเข็มที่ยาวมากขึ้นเพื่อให้สามารถถ่ายน้ำหนักลงไปยังชั้นดินที่ลึกและรับน้ำหนักแบกทานได้มากขึ้น ถ้าเสาเข็มยาวถึงระดับชั้นดินแข็ง เสาเข็มจะสามารถรับน้ำหนักจากอาคารและถ่ายลงสู่ชั้นดินแข็งโดยตรง เสาเข็ม สามารถรับน้ำหนักได้อย่างไรเสาเข็มรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ “แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin friction)”และ “แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing)”1. แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) แรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดินแต่ละชนิด (ดินแต่ละชนิดจะมีสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานผิวต่างกัน) และลักษณะผิวของเสาเข็มแต่ละประเภท2. แรงต้านจากชั้นดินแข็ง (End Bearing คือ แรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลาเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมาก หรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกันดินที่มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก (Void) ก็จะมีความสามารถในการับน้ำหนักน้อย (ดินทรุดตัวเมื่อมีน้ำหนักมากระทำ)โดยคุณสมบัติเฉพาะของดินแต่ละชนิด ส่งผลให้มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินไม่เหมือนกัน ดินเหนียวจะมีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก (ดินหลวม)จึงรับน้ำหนักได้น้อย แต่ทรายละเอียดจะมีช่องว่างระหว่างอนุภาคน้อย (ดินอัดแน่น) จึงรับน้ำหนักได้มาก ในการออกแบบเสาเข็มโดยทั่วไปนั้นหากเป็นเสาเข็มแบบ Skin friction pile จะไม่คำนึงว่าปลายเสาเข็มอยู่ที่ชั้นดินประเภทไหน แต่จะให้ความสำคัญเรื่องขนาดและความยาวเสาเข็มที่เพียงพอจะทำให้เกิดแรงฝืดรอบผิวเสาเข็มเพื่อรับน้ำหนักที่กระทำเสาเข็มแบบ End bearing pileออกแบบให้เสาเข็มมีขนาดและความยาวที่ให้ปลายเสาเข็มนั่งอยู่บนชั้นทรายอัดแน่น ประเภทของเสาเข็มที่ใช้ในการสร้างบ้านและอาคารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ตามลักษณะการผลิตและการใช้งานดังนี้:1. เสาเข็มสปัน (เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง): เป็นเสาเข็มที่ผลิตโดยการปั่นคอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและแข็งแกร่ง โดยมีโครงสร้างลวดเหล็กที่อัดแรงฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีต เสาเข็มสปันสามารถตอกหรือเจาะได้หลายแบบ ช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอกและลดแรงดันของดินในขณะตอก มีขนาดและความยาวหลากหลาย เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคารสูงที่ต้องการความแข็งแกร่งเพื่อป้องกันปัญหาลมแรงและแผ่นดินไหว2. เสาเข็มเจาะ: เสาเข็มเจาะใช้กรรมวิธีที่ยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเสาเข็มสปัน โดยต้องเจาะดินและใส่เหล็กเสริมและคอนกรีตในสถานที่ที่จะใช้งานจริง มีความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่กำหนด ใช้สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแกร่งสูง3. เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง: เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงผลิตโดยวางคอนกรีตเข้าไปในแม่พิมพ์ที่มีลวดเหล็ก PC Wire เสริมฝังอยู่ จากนั้นคอนกรีตจะถูกอัดแรงเพื่อเสริมความแข็งแกร่ง เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงใช้ในงานสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่งและความทนทานต่อสภาพแวดล้อม และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯPC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wirePC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
02-01-2025
PC Wire (Prestressed Concrete Wire) เป็นลวดเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงสูง ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเพื่อใช้งานในงานก่อสร้างที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต โดย "Prestressed" หมายถึง การให้แรงดึงกับลวดเหล็กก่อนที่จะเทคอนกรีตรอบ ๆ เพื่อให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึงได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันการแตกร้าวของโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย (มอก.) สำหรับ PC Wireในประเทศไทย การผลิตและใช้งาน PC Wire ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. โดยเฉพาะ มอก. 95-2540 ซึ่งระบุข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติของวัสดุ: PC Wire ต้องผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผ่านการอบชุบความร้อนและดึงเย็น เพื่อให้มีค่าความแข็งแรงและความทนทานที่เหมาะสม ขนาดและความคลาดเคลื่อน: กำหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเหล็กและความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ คุณสมบัติเชิงกล: เช่น ค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) และค่าความยืดตัว (Elongation) ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กระบวนการทดสอบ: ลวดเหล็กต้องผ่านการทดสอบต่าง ๆ เช่น การทดสอบแรงดึง การทดสอบความแข็งแรง และการตรวจสอบผิววัสดุ การปฏิบัติตามมาตรฐาน มอก. ไม่เพียงช่วยให้โครงสร้างมีความปลอดภัย แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้อดีของ PC Wire : ความแข็งแรงสูง: PC Wire มีค่ากำลังรับแรงดึงสูงกว่าเหล็กทั่วไป ทำให้สามารถใช้งานในโครงสร้างที่ต้องการความทนทานสูงได้ ลดน้ำหนักโครงสร้าง: ด้วยคุณสมบัติที่สามารถรับแรงดึงได้สูง จึงช่วยลดปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ในโครงสร้างได้ อายุการใช้งานยาวนาน: การเสริมกำลังด้วย PC Wire ช่วยลดโอกาสที่โครงสร้างจะเกิดการแตกร้าวและเสื่อมสภาพเร็ว มาตรฐานที่รองรับ: การผลิตตามมาตรฐาน มอก. ช่วยเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย การนำ PC Wire ไปใช้งาน : สะพานและทางยกระดับ: ใช้เสริมแรงในคานสะพานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและลดโอกาสการแตกร้าว แผ่นพื้นสำเร็จรูป: ใช้ในแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับอาคารสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก เสาเข็มและกำแพงกันดิน: ใช้ในโครงสร้างที่ต้องการรองรับแรงดันดินหรือแรงน้ำ งานก่อสร้างโครงสร้างสำคัญ: เช่น สนามกีฬา อาคารขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างใต้ดินที่ต้องการความมั่นคงสูง PC Wire จึงเป็นวัสดุที่ขาดไม่ได้ในงานก่อสร้างยุคใหม่ โดยเฉพาะโครงการที่เน้นความแข็งแรง ทนทาน และสอดคล้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนด สั่งซื้อ PC Wire ได้จากที่ไหน? SIW คือผู้ผลิตและจำหน่าย PC Wire ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. 95-2540 และมาตรฐานสากลอีกกว่า 70+ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการรับรอง Environmental Product Declaration (EPD) https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire
08-06-2022
ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงนั้น นอกจาก ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ( PC WIRE , PC STRAND ) จะมีความสำคัญแล้ว ยังมีเครื่องดึงลวดที่ใช้ใน การดึงลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ให้มีสถานะพร้อมใช้งาน ถ่ายแรงสู่คอนกรีต ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ถึงแม้ลวดเหล็กจะดีแค่ไหนแต่ถ้าเครื่องดึง ไม่มีการปรับตั้งค่าแรงดึง ลวด ให้เหมาะสมกับประเภทงานคอนกรีตอัดแรง ตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม และ ขนาดของลวดเหล็กที่นำมาใช้งาน 1.หากใช้แรงดึงที่ไม่เพียงพอ ก็สามารถ ทำให้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ไม่สามารถรับน้ำหนักใช้งานตามที่ออกแบบ หรือ อาจเกิดปัญหา กับชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ขึ้นได้ 2.หากใช้แรงดึงที่มากเกิน อาจส่งผลให้ลวดเหล็ก รับแรงไม่ได้และ ขาด ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หรือ ในกรณีที่ดึงลวดเหล็ก เกินจุด YEILD ส่งผลทำให้ ลวดเหล็กไม่หดตัวกลับ ทำให้ไม่เกิดสภาวะการอัดแรง ส่งผลให้ไม่สามารถรับน้ำหนักใช้งานตามที่ออกแบบ และ การเสียหายของผลิตภัณฑ์ ทาง SIW จึงมีบริการหลังการขาย ในการสอบเทียบค่าแรงดึงของเครื่องดึงลวด จากที่ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้บริการ ( ฟรี ) ให้กับลูกค้าของ SIW ทุกท่าน และบริการการถึงที่ ทั่วประเทศไทยเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านมีความมั่นใจในการใช้ ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากจะมีการสอบเทียบให้กับลูกค้าแล้ว ยังมีการให้คำแนะนำการใช้งาน การดูแลรักษาเครื่องดึงลวดรวมไปถึงให้ความรู้ด้านเทคนิควิศวกรรม และยังให้คำแนะนำเรื่องการใช้งานอย่างปลอดภัย โดยทีมวิศวกรของ SIW อีกด้วย
08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
04-12-2024
พื้นถนนคอนกรีต vs ถนนลาดยาง: เลือกแบบไหนดีกว่ากัน? การเลือกวัสดุสำหรับการก่อสร้างถนนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ อายุการใช้งาน และต้นทุนโดยรวม ทั้งพื้นถนนคอนกรีตและถนนลาดยางเป็นสองตัวเลือกหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน ถนนลาดยาง ถนนลาดยางมีความยืดหยุ่นและให้พื้นผิวเรียบลื่นมากกว่า แต่มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงหรือฝนตกหนัก ซึ่งส่งผลให้เสื่อมสภาพเร็วกว่า มีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี ถนนลาดยางเหมาะสำหรับพื้นที่ทั่วไปและโครงการขนาดเล็ก ข้อดี • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่ำกว่า • ก่อสร้างได้รวดเร็ว ใช้งานได้ทันทีหลังลาดยางเสร็จ • ซ่อมบำรุงง่ายและรวดเร็ว โดยใช้เทคนิค Re-surface (การปูผิวถนนใหม่) ข้อเสีย • เสื่อมสภาพเร็วกว่าคอนกรีต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือน้ำท่วม • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง เนื่องจากต้องซ่อมแซมบ่อย ถนนคอนกรีต ถนนคอนกรีตเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย และเหล็กเสริม เช่น Wire Mesh ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทนทาน อายุการใช้งานเฉลี่ย 20-40 ปี เหมาะสำหรับโครงการขนาดใหญ่และถนนที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทางหลวง สะพาน หรือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ข้อดี • ความแข็งแรงและทนทานสูง รองรับน้ำหนักบรรทุกหนักได้ดี • พื้นผิวเสถียร มีความเรียบและลดการทรุดตัว • คุ้มค่าในระยะยาว มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ เพราะมีความทนทานต่อการใช้งานระยะยาว ข้อเสีย • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่า • ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน เนื่องจากต้องรอให้คอนกรีตเซ็ตตัวและแข็งแรงก่อนเปิดใช้งาน • ซ่อมบำรุงยาก เนื่องจากการซ่อมแซมคอนกรีตมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง การเลือกวัสดุระหว่างถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางนั้น ควรพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากลักษณะการใช้งาน งบประมาณ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อให้ถนนตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม และทางสยามลวดเองก็มีตะแกรงเหล็ก Wire Mesh คุณภาพสูงที่เหมาะสำหรับการทำพื้นคอนกรีต ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.) โดยได้รับการรับรอง มอก. 737 สำหรับแบบธรรมดา และ มอก. 926 สำหรับแบบข้ออ้อย/ยาง Wire Mesh : https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
26-12-2024
ยานพาหนะไฟฟ้า ก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้าน ESG: SIW ได้มีการปรับเปลี่ยนยานพาหนะในองค์กรเป็นรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุกไฟฟ้า (Electric Trucks) หรือรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า (Electric Forklift) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย