30-09-2024
🔍 In an era where quality standards are the top priority in production, SIW Testing Service Center is here to help your business confidently overcome any concerns about product quality.** We offer comprehensive testing services using the latest and most advanced testing technologies.✅ Precision : With internationally certified testing equipment and a team of professionals, you can trust that the results are accurate and reliable.✅ Trustworthiness : Our team of experts, with over 30 years of experience, is ready to provide top-quality testing services that meet global standards.💡 Why choose us?Because we understand that product quality is the key to your business success. SIW is dedicated to providing a full range of quality testing services to meet the needs of every business.If you're looking for a reliable partner for product testing, “SIW Testing Service Center”is the answer you've been searching for.
30-05-2023
ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้ 1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร 2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19) และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!! ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
03-11-2022
การซื้อตะแกรงเหล็กไวร์เมชไม่เต็ม ดูเหมือนจะซื้อสินค้าในราคาที่ถูกกว่า เพราะจ่ายเงินบาท/ตร.ม.น้อยกว่า แต่ความเป็นจริงลูกค้า ซื้อของราคาเท่ากัน แต่ได้ตะแกรงเหล็กไวร์น้ำหนักน้อยกว่าปกติมาก เพราะพื้นที่หน้าตัดที่ลดลง และสินค้าที่ได้นั้นจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่ถูกต้อง จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่า ลวดขนาดต่างกันเพียง 0.3 มม. แต่น้ำหนักน้อยกว่าปกติถึง 9.76 % ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพงานก่อสร้างของลูกค้าไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ลูกค้าจะหมดความกังวลเหล่านี้หากซื้อสินค้าตะแกรงเหล็กไวร์ของเรา เพราะตะแกรงเหล็กไวร์เมชของ สยามลวดเหล็กฯ เป็นเหล็กเต็มขนาด ได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้ในคุณภาพของสินค้า และ ความใส่ใจใน การผลิตในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เลือกดูสินค้า: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
SIW ทำธุรกิจด้วยหลัก ESG ที่พาองค์กรเติบโตและยั่งยืน มีการดำเนินการในด้าน Environment, Social and Governance (ESG) ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การดำเนินกิจกรรมด้านสังคม Social เพื่อแสดงความมุ่งมั่นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001, TIS 18001, มรท 8001 และ CSR-DIW ตลอดถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือของพนักงานและชุมชน มีการดำเนินงานการการให้ปรับปรุง-เสริมสร้างความตระหนักความปลอดภัยแก่พนักงาน การให้ความรู้ให้แนวทางการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการและชุมชน การบริจาคให้กับการสร้างห้องสมุด การมอบทุนการศึกษาให้กับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริษัท การสร้างกิจกรรมสำนึกบ้านเกิดของพนักงาน ในด้านสิ่งแวดล้อม Environment บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001, ISO 50001, Product carbon footprint label และ Environmental Product Declarations (EPD) โดยในทุกปีบริษัทมีการจัดทำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการ Low Emission Support Scheme (LESS) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ตลอดถึงมุ่งมั่นการลดภาวะโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจก สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อมนี้บริษัทอยู่ระหว่างขยายความสามารถดำเนินโครงการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ในด้านธรรมาภิบาล Governance บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001, ISO/IEC 17025, NATA-ISO/IEC 17025 และมาตรฐาน Product certificate จากแต่ละประเทศมากกว่า 25 มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ อาทิ TIS, UK CARES, DCL, ASTM, JIS, MS, NZ และ AS เป็นต้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานราชการ ว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าและให้บริการอย่างมีคุณภาพสอดคล้องมาตรฐานสากล ส่งผลให้บริษัทได้รับความไว้วางใจกับคู่ค้ามากกว่า 50 ประเทศจากทั่วโลก และบริษัทมีการดำเนินโปรแกรมการพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงานอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบผ่านกระบวนการ QCC ซึ่งในทุกปีพนักงานของบริษัทที่ผ่านการพัฒนาความรู้ QCC นี้ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดนำเสนอผลงานในระดับประเทศ และนานาชาติ แล้วสามารถได้รับรางวัลระดับ Gold ได้ทุกปี เป็นที่ภาคภูมิใจของพนักงาน ครอบครัวของพนักงาน และองค์กร
08-06-2022
เรามาทำความรู้จักกับลวดเหล็กสปริง กันดีกว่ามีกี่ชนิด ลวดสปริงสามรถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. Hard Drawn Steel Wire - (JIS G 3521) ลวดเหล็กที่ผลิตภายใต้กระบวนการรีดเย็น โดยใช้เหล็กลวดที่มีส่วนผสมของคาร์บอนสูง ที่เหมาะกับการใช้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย Hard Drawn Wire แบ่งเป็น 3 เกรด คือ SWA SWB และ SWC แต่ละเกรดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน 2. Piano Wire - ลวดเปียโน (JIS G 3522) ลวดเปียโนผลิตจากกระบวนการรีดเย็น โดยใช้ลวดเหล็กที่มีส่วนผสมคาร์บอน ด้วยคุณภาพที่ดีนี้ ลวดเปียโนจึงนำมาใช้ในการผลิตสปริงที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ เช่น สปริงในอุตสาหกรรมยานยนต์ โช๊ค เครื่องยนต์ อาทิ สปริงวาวล์ สปริงเบรค สปริงคลัชท์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เป็นต้น ซึ่งลวดเปียโนสามารถแบ่งเกรดเป็น SWPA, SWPB และ SWPV โดยแต่ละเกรดมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามประเภทงาน
08-06-2022
พื้น Post Tension โดยทั่วไป คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารับหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบาง ๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้ 1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน เพื่อช่วยในเรื่องของแรงยึดเหนี่ยว ภายหลังเมื่อทำการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่ 2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น โดยใช้ ( PE unbounded PC strand )เป็นตัวยึดเหนี่ยว ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต แต่จะนิยมใช้กับระบบพื้นที่เป็น อาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานที่ตามมาในอนาคต ข้อดีขอ ระบบพื้นพื้น Post Tension รวดเร็วกว่า: สามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับระบบพื้นโครงสร้างเสริมเหล็กทั่วไป คุ้มค่ากว่า : ออกแบบโดยคำนึงถึงความประหยัดของโครงสร้างและค่าก่อสร้างโดยรวม อาทิเช่นแรงงาน ไม้แบบ คอนกรีต เป็นต้น
10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
01-05-2023
การบ่มคอนกรีต (Curing) คือ วิธีการควบคุมและป้องกันไม่ให้น้ำส่วนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยาระเหยออก เพื่อให้ปฏิกิริยาไฮเดรชั่น (hydration) ของซีเมนต์เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ส่งผลต่อการพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จุดประสงค์ของการบ่มคอนกรีต : 1. เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีกำลังและความทนทานสูงสุด 2. เพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสม และลดการระเหยของน้ำ เพื่อป้องกันการแตกร้าวของคอนกรีต วิธีการบ่มคอนกรีตที่นิยมใช้ : 1. ใช้การฉีดน้ำเป็นระยะเพื่อไม่ให้คอนกรีตแห้ง 2. ใช้พลาสติกคลุมหลังจากฉีดน้ำแล้วเพื่อป้องกันน้ำระเหยออก 3. ใช้กระสอบชุบน้ำหุ้มคอนกรีต 4. ใช้น้ำยาเคมีเคลือบผิวคอนกรีต และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย