โทร: | 1-800-292-777 (โทรฟรี) หรือ 02-677-2800 |
เวลาทำการ: | 9:00 - 17:30 น. จันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) |
อีเมล: | tell@thailand-ethicsline.com |
เรื่อง: | สายด่วน SIW |
ไปรษณีย์: | สายด่วน SIW ตู้ ปณ.2712 ไปรษณีย์บางรัก กรุงเทพฯ 10500 |
28-11-2024
คุ้มค่าจริงไหม? บริการทดสอบลวดจาก SIW - Testing Service Center ในโลกของอุตสาหกรรมลวด การทดสอบคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้งานลวด การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อให้มั่นใจว่าได้มาตรฐานและตรงตามความต้องการนั้นส่งผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของสินค้า เปรียบเทียบบริการทดสอบลวด SIW กับแหล่งทดสอบทั่วไป 1. ความแม่นยำและเทคโนโลยี SIW - Testing Service Center: ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีระดับสากลที่ทันสมัยที่สุด พร้อมผ่านการรับรองมาตรฐานระดับโลก เช่น ISO/IEC 17025 แหล่งทดสอบทั่วไป: อาจมีเครื่องมือพื้นฐานซึ่งไม่ได้อัปเดตหรือผ่านการรับรองในระดับเดียวกัน 2. ทีมผู้เชี่ยวชาญ SIW: ทีมวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ผู้มีประสบการณ์สูง ช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์และให้คำแนะนำเชิงลึก แหล่งทดสอบทั่วไป: อาจมีผู้เชี่ยวชาญในระดับทั่วไป ซึ่งอาจไม่ได้ให้คำปรึกษาเฉพาะทางในรายละเอียด 3. ความน่าเชื่อถือของผลทดสอบ SIW: ผลลัพธ์ที่ได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ เหมาะสำหรับการส่งออกและสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ทั่วไป: ผลลัพธ์อาจเหมาะสำหรับการใช้งานภายในประเทศหรือการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น 4. ความหลากหลายของการทดสอบ SIW: ให้บริการครอบคลุมการทดสอบแรงดึง, ความเหนียว, การกัดกร่อน, และคุณสมบัติอื่น ๆ ที่สำคัญ ทั่วไป: อาจจำกัดเฉพาะการทดสอบพื้นฐานเท่านั้น 5. ความคุ้มค่าในระยะยาว SIW: ช่วยลดความเสี่ยงจากการส่งมอบสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนในระยะยาวจากความเสียหายหรือข้อร้องเรียน ทั่วไป: อาจประหยัดในระยะสั้น แต่เพิ่มความเสี่ยงในระยะยาว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SIW - Testing Service Center วันนี้! Tel: 081-170-2571 Email: marketing@siw.co.th LineID: @siwthailand
04-12-2024
พื้นถนนคอนกรีต vs ถนนลาดยาง: เลือกแบบไหนดีกว่ากัน? การเลือกวัสดุสำหรับการก่อสร้างถนนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ อายุการใช้งาน และต้นทุนโดยรวม ทั้งพื้นถนนคอนกรีตและถนนลาดยางเป็นสองตัวเลือกหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน ถนนลาดยาง ถนนลาดยางมีความยืดหยุ่นและให้พื้นผิวเรียบลื่นมากกว่า แต่มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงหรือฝนตกหนัก ซึ่งส่งผลให้เสื่อมสภาพเร็วกว่า มีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10-15 ปี ถนนลาดยางเหมาะสำหรับพื้นที่ทั่วไปและโครงการขนาดเล็ก ข้อดี • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่ำกว่า • ก่อสร้างได้รวดเร็ว ใช้งานได้ทันทีหลังลาดยางเสร็จ • ซ่อมบำรุงง่ายและรวดเร็ว โดยใช้เทคนิค Re-surface (การปูผิวถนนใหม่) ข้อเสีย • เสื่อมสภาพเร็วกว่าคอนกรีต โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือน้ำท่วม • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง เนื่องจากต้องซ่อมแซมบ่อย ถนนคอนกรีต ถนนคอนกรีตเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย และเหล็กเสริม เช่น Wire Mesh ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทนทาน อายุการใช้งานเฉลี่ย 20-40 ปี เหมาะสำหรับโครงการขนาดใหญ่และถนนที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ทางหลวง สะพาน หรือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ข้อดี • ความแข็งแรงและทนทานสูง รองรับน้ำหนักบรรทุกหนักได้ดี • พื้นผิวเสถียร มีความเรียบและลดการทรุดตัว • คุ้มค่าในระยะยาว มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำ เพราะมีความทนทานต่อการใช้งานระยะยาว ข้อเสีย • ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่า • ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน เนื่องจากต้องรอให้คอนกรีตเซ็ตตัวและแข็งแรงก่อนเปิดใช้งาน • ซ่อมบำรุงยาก เนื่องจากการซ่อมแซมคอนกรีตมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง การเลือกวัสดุระหว่างถนนคอนกรีตหรือถนนลาดยางนั้น ควรพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากลักษณะการใช้งาน งบประมาณ และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อให้ถนนตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม และทางสยามลวดเองก็มีตะแกรงเหล็ก Wire Mesh คุณภาพสูงที่เหมาะสำหรับการทำพื้นคอนกรีต ผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย (มอก.) โดยได้รับการรับรอง มอก. 737 สำหรับแบบธรรมดา และ มอก. 926 สำหรับแบบข้ออ้อย/ยาง Wire Mesh : https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
18-08-2022
วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 บริษัท สยามลวดเหล็กอุตสาหกรรม จำกัด ร่วมส่งมอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ลวดเหล็กกล้า ขนาด 5 มม. และลวดเหล็กกล้าตีเกลียว ขนาด 9.3 มม. (PC Wire และ PC Strand) แก่คณะวิศวกรรมโยธาและวิศวกรรมก่อสร้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 เส้น อีกทั้งยังมีการแนะนำอบรมกระบวนการผลิต เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สยามลวดเหล็กฯ มีความยินดีที่จะส่งเสริมสร้างสรรค์การพัฒนาบุคลากรภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชำนาญในวิชาชีพและต่อยอดเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอุตสาหกรรมในอนาคต
13-09-2024
ประหยัดจริงไหม?อัตราค่าบริการทดสอบลวดโดย Testing Service Centerเหมาะสำหรับผู้ผลิตหรือผู้ใช้งานลวดเหล็ก PC Wire และ PC Strand ที่ต้องการผลทดสอบคุณภาพสินค้าตามมาตรฐานต่างๆ ด้วยห้องแล็บจาก SIW ที่มีความเชียวชาญด้านการทดสอบคุณภาพลวดเหล็กอัดแรงกว่า 30 ปี✔️สะดวก รวดเร็ว ประหยัด✔️ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก NATA (National Association of Testing Authorities, Australia)✔️รายงานผลละเอียด ชัดเจน สอบกลับได้ทุกขั้นตอน พร้อมการวิเคราะห์และข้อเสนอแนะในการปรับปรุง✔️อุปกรณ์ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ความแม่นยำมากกว่า 99.95%✔️ปรับแต่งการทดสอบได้ยืดหยุ่น ตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการทดสอบที่เฉพาะเจาะจงข้อมูลบริการ:1. Fatigue Testing Machine (เครื่องทดสอบความล้า)- แบรนด์: Zwick Roell รุ่น HA500- รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, BS 5896, LNEC E 542, LNEC E 453, ISO 15630 Part 3, TIS 95-2540, TIS 420-2540- PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม.- PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม.- Deformed Bar: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 40 มม.2. Relaxation Testing Machine (เครื่องทดสอบความผ่อนคลาย)- รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, ASTM A416/A416M, ASTM A421/A421M, ASTM A881, BS 5896, ISO 15630-3, JIS G3536, TIS 95-2540, TIS 420-2540- PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 300 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 9 มม.- PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.3 – 18.0 มม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: >>คลิ๊ก<< ลวดเหล็กได้มาตรฐานง่ายดายด้วยบริการการทดสอบลวดเหล็กจาก SIW Testing Service Center บริการทดสอบคุณภาพเหล็กลวดครบวงจร ทั้ง Fatigue Test, Relaxation Test, Tensile Test, Salt Spray Test และ Chemical Analysis ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและความแม่นยำสูงถึง 99.95% บริการสะดวก คุ้มค่า และปรับแต่งได้ตามต้องการ ให้ SIW ช่วยให้ลวดเหล็กของคุณได้มาตรฐานระดับสากลและตอบโจทย์ลูกค้า สอบถามเพิ่มเติม: (+66)2-937-0060 Email: marketing@siw.co.th www.siw.co.th
02-01-2025
PC Wire (Prestressed Concrete Wire) เป็นลวดเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงสูง ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเพื่อใช้งานในงานก่อสร้างที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างคอนกรีต โดย "Prestressed" หมายถึง การให้แรงดึงกับลวดเหล็กก่อนที่จะเทคอนกรีตรอบ ๆ เพื่อให้คอนกรีตสามารถรับแรงดึงได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันการแตกร้าวของโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย (มอก.) สำหรับ PC Wireในประเทศไทย การผลิตและใช้งาน PC Wire ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. โดยเฉพาะ มอก. 95-2540 ซึ่งระบุข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น คุณสมบัติของวัสดุ: PC Wire ต้องผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนสูงที่ผ่านการอบชุบความร้อนและดึงเย็น เพื่อให้มีค่าความแข็งแรงและความทนทานที่เหมาะสม ขนาดและความคลาดเคลื่อน: กำหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลวดเหล็กและความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ คุณสมบัติเชิงกล: เช่น ค่าความต้านทานแรงดึง (Tensile Strength) และค่าความยืดตัว (Elongation) ที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กระบวนการทดสอบ: ลวดเหล็กต้องผ่านการทดสอบต่าง ๆ เช่น การทดสอบแรงดึง การทดสอบความแข็งแรง และการตรวจสอบผิววัสดุ การปฏิบัติตามมาตรฐาน มอก. ไม่เพียงช่วยให้โครงสร้างมีความปลอดภัย แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ข้อดีของ PC Wire : ความแข็งแรงสูง: PC Wire มีค่ากำลังรับแรงดึงสูงกว่าเหล็กทั่วไป ทำให้สามารถใช้งานในโครงสร้างที่ต้องการความทนทานสูงได้ ลดน้ำหนักโครงสร้าง: ด้วยคุณสมบัติที่สามารถรับแรงดึงได้สูง จึงช่วยลดปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ในโครงสร้างได้ อายุการใช้งานยาวนาน: การเสริมกำลังด้วย PC Wire ช่วยลดโอกาสที่โครงสร้างจะเกิดการแตกร้าวและเสื่อมสภาพเร็ว มาตรฐานที่รองรับ: การผลิตตามมาตรฐาน มอก. ช่วยเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย การนำ PC Wire ไปใช้งาน : สะพานและทางยกระดับ: ใช้เสริมแรงในคานสะพานเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและลดโอกาสการแตกร้าว แผ่นพื้นสำเร็จรูป: ใช้ในแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับอาคารสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก เสาเข็มและกำแพงกันดิน: ใช้ในโครงสร้างที่ต้องการรองรับแรงดันดินหรือแรงน้ำ งานก่อสร้างโครงสร้างสำคัญ: เช่น สนามกีฬา อาคารขนาดใหญ่ หรือโครงสร้างใต้ดินที่ต้องการความมั่นคงสูง PC Wire จึงเป็นวัสดุที่ขาดไม่ได้ในงานก่อสร้างยุคใหม่ โดยเฉพาะโครงการที่เน้นความแข็งแรง ทนทาน และสอดคล้องตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่กำหนด สั่งซื้อ PC Wire ได้จากที่ไหน? SIW คือผู้ผลิตและจำหน่าย PC Wire ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี ผ่านการรับรองมาตรฐาน มอก. 95-2540 และมาตรฐานสากลอีกกว่า 70+ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการรับรอง Environmental Product Declaration (EPD) https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire
10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย