เรามาทำความรู้จักกับลวดเหล็กสปริง กันดีกว่ามีกี่ชนิด ลวดสปริงสามรถแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. Hard Drawn Steel Wire - (JIS G 3521) ลวดเหล็กที่ผลิตภายใต้กระบวนการรีดเย็น โดยใช้เหล็กลวดที่มีส่วนผสมของคาร์บอนสูง ที่เหมาะกับการใช้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดย Hard Drawn Wire แบ่งเป็น 3 เกรด คือ SWA SWB และ SWC แต่ละเกรดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน 2. Piano Wire - ลวดเปียโน (JIS G 3522) ลวดเปียโนผลิตจากกระบวนการรีดเย็น โดยใช้ลวดเหล็กที่มีส่วนผสมคาร์บอน ด้วยคุณภาพที่ดีนี้ ลวดเปียโนจึงนำมาใช้ในการผลิตสปริงที่มีคุณภาพสูงเป็นพิเศษ เช่น สปริงในอุตสาหกรรมยานยนต์ โช๊ค เครื่องยนต์ อาทิ สปริงวาวล์ สปริงเบรค สปริงคลัชท์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท เป็นต้น ซึ่งลวดเปียโนสามารถแบ่งเกรดเป็น SWPA, SWPB และ SWPV โดยแต่ละเกรดมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไปตามประเภทงาน
30-08-2024
ทำไม? ต้องเลือก SIW - Testing Service Centerในการทดสอบลวด PC Wire และ PC Strand✔️สะดวก รวดเร็ว ประหยัด✔️ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก NATA (National Association of Testing Authorities, Australia)✔️อุปกรณ์ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ความแม่นยำมากกว่า 99.95%✔️รองรับมาตรฐานกว่า 70 ประเทศทั่วโลก เช่น TIS, ASTM, JIS และอื่นๆข้อมูลบริการ:1. Fatigue Testing Machine (เครื่องทดสอบความล้า)- แบรนด์: Zwick Roell รุ่น HA500- รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, BS 5896, LNEC E 542, LNEC E 453, ISO 15630 Part 3, TIS 95-2540, TIS 420-2540- PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม.- PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 22 มม.- Deformed Bar: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 40 มม.2. Relaxation Testing Machine (เครื่องทดสอบความผ่อนคลาย)- รองรับมาตรฐานการทดสอบ: AS/NZS 4672.1, AS/NZS 4672.2, ASTM A416/A416M, ASTM A421/A421M, ASTM A881, BS 5896, ISO 15630-3, JIS G3536, TIS 95-2540, TIS 420-2540- PC Wire: รับน้ำหนักสูงสุด 300 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 9 มม.- PC Strand: รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, รองรับตัวอย่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.3 – 18.0 มม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: >>คลิ๊ก<<
30-05-2023
ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้ 1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร 2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19) และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!! ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
07-08-2023
สนิมผิวและสนิมขุมต่างกันอย่างไร?สนิมผิว คือ สนิมที่เกาะที่ผิวของเหล็กผิวของเหล็กนั้นยังไม่ถูกกัดกร่อนจนขรุขระหรือเป็นหลุมกินเนื้อเหล็กเข้าไปจากผิวไม่ทำให้เกิดความเสียหายสนิมขุม คือ สนิมซึ่งเกิดที่ผิวโลหะเป็นเวลานานแล้วทำให้ผิวโลหะโดนกัดลึกเข้าไปในเนื้อเหล็กทำให้เนื้อเหล็กเกิดความเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้งานได้กลไกลการเกิดสนิมเมื่อโลหะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันหรือถูกออกซิไดซ์ จะมีการกร่อนของโลหะนั้นๆ เกิดขึ้น ดังนั้นหลักของการป้องกันการกร่อนก็คือ การป้องกันไม่ให้โลหะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันนั่นเองโลหะที่มีค่าครึ่งเซลล์รีดักชันสูงที่สุดได้แก่ ทองคำจะสามารถทนต่อการกร่อนได้มากที่สุด ทองคำจึงเป็นโลหะมีค่า แพลตินัม เงิน และทองแดงที่มีค่าครึ่งเซลล์รีดักชันเป็นบวกก็มีความสามารถทนต่อการกร่อนได้ดีรองลงมา ส่วนโลหะอื่น ๆ ก็จะเป็นโลหะที่ถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย นั่นคือมีโอกาสกร่อนได้ง่ายกว่า ตัวอย่างการกร่อนที่พบได้บ่อยและชัดเจนคือการเกิดสนิมเหล็กหรือการเกิดออกไซด์ของเหล็ก เหล็กเป็นสนิมได้ก็ต่อเมื่อมีแก๊สออกซิเจนและน้ำอยู่ด้วย ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็กค่อนข้างซับซ้อนและมีลักษณะเฉพาะตัว แต่เชื่อว่ามีขั้นตอนที่สำคัญ คือปฏิกิริยาออกซิเดชันเกิดขึ้นเมื่อพื้นผิวส่วนหนึ่งของเหล็กทำหน้าที่เป็นแอโนด ดังสมการ Fe(s) Fe2+(aq) + 2e- ออกซิเจนถูกรีดิวซ์ที่ผิวอีกส่วนหนึ่งของเหล็กซึ่งทำหน้าที่เป็นแคโทด เมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ดังสมการ 2O2 (g) + 4H2O(l) + 8e- 8OH-(aq) และมีปฏิกิริยาต่อเนื่องต่อไปคือ 4Fe2+(aq) + 8OH-(aq) 4Fe(OH)2 (aq)ที่มา: https://il.mahidol.ac.th/e-media/electrochemistry/web/electrochem04.htm
16-12-2024
เทรนด์การก่อสร้างที่น่าจับตามอง ในปี 2025 เทรนด์การก่อสร้างในปัจจุบันไม่ได้เพียงแค่เน้นการพัฒนาโครงสร้างที่ทันสมัยและแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกมาใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน การก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) ในปัจจุบัน แนวคิดการก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากสอดคล้องกับหลักการ ESG ที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น • การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • เทคนิคการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง • การจัดการของเสียด้วยการคัดแยกและจัดการเศษวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดนี้ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อสร้างโครงสร้างที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่กระทบต่อทรัพยากรในอนาคต เทคโนโลยีดิจิทัลในงานก่อสร้าง (Digital Technology in Construction) เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น • IoT (Internet of Things): อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพื่อเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น การตรวจสอบความปลอดภัยในไซต์งาน • AI (Artificial Intelligence): ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย • ระบบ BIM กับการออกแบบโครงสร้างอย่างแม่นยำ: ช่วยออกแบบโครงสร้างและจัดการโครงการอย่างแม่นยำ ลดการสิ้นเปลืองวัสดุและข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี เช่น โดรนสำรวจพื้นที่แบบ 3 มิติ และ AR/VR สำหรับการออกแบบเสมือนจริง ซึ่งช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการก่อสร้าง เพิ่มความปลอดภัย และช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำยิ่งขึ้น การใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังเติบโต โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น • หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Roofs) : ช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • พลังงานจากลม (Wind Energy) : ใช้พลังงานลมเพื่อลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงานสะอาดไม่เพียงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุนพลังงานและสร้างโครงสร้างที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงาน (Prefabrication) การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงานเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญ โดยมีการออกแบบและผลิตองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้น เสา และหลังคา ในโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพ ก่อนนำไปประกอบในไซต์งานจริง วิธีนี้ช่วยเร่งความเร็วในการก่อสร้างและลดความยุ่งยากในไซต์งาน ปัจจุบัน SIW ก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์การก่อสร้างที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) หรือการสนับสนุนการก่อสร้างอย่างยั่งยืนผ่านการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลจากเทคโนโลยี EAF นอกจากนี้ SIW ยังได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 (Green Industry Level 4) และกำลังดำเนินแผนสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
08-06-2022
น้ำหนักของตะแกรงเหล็กก็มีความสำคัญมากในการสั่งซื้อเพราะ จะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย ( ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น ) ตามภาพ ถึงอย่างไร น้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงเหล็กมากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด ถ้าต้องการทราบว่าน้ำหนักที่ถูกต้องก็ สามารถสอบถาม กลับมาทาง บริษัทสยามลวดเหล็กได้ เนื่องจากมีวิศวกร คอยให้ความรู้ และ สามารถสอบถามราคาได้ จึงมีความมั่นใจได้ว่า เหล็กของสยามลวด นั้น เป็นเหล็กเต็มขนาด และมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้ตามมาตรฐาน มอก.
08-06-2022
ที่เราๆท่านๆ รู้จักตะแกรงเหล็กกันดีอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากตะแกรงเหล็ก ที่นำไปใช้ปูพื้นถนน หรืออาคารรวมถึงผนัง Precast แล้ว ตะแกรงเหล็ก ของสยามลวดเหล็ก ก็ยังมี ตะแกรงที่ชุบกัลวาไนซ์ ที่สามารถนำไปปูรอง ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาได้อีกด้วย ซึ่งทางสยามลวดเอง สามารถผลิตเป็นแผ่น ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการแล้วนำไปวางใช้งานได้เลย ได้ทั้งความสะดวกสบาย และรวดเร็ว ในการทำงาน แบบนี้งานเสร็จเร็วแน่นอน
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย