เมื่อพูดถึง “ไวร์เมช (Wire Mesh)” หลาย ๆ คนได้ยินชื่อนี้แล้ว อาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเคยเห็นและรู้จักกันในภาพลักษณ์ที่เป็นตะแกรงเหล็ก แบบแผ่น หรือเป็นม้วนใหญ่ ๆ ตามไซต์งานก่อสร้างต่าง ๆ ไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆนั้น รู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) คือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) นำมา อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 4 มม. - 12 มม. และระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 10*10 ซม / 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30* 30 ซม. 40*40 ซม. / 50*50 ซม. สามารถตัดเป็นแผงได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากเหล็กเส้นผูก และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน อีกทั้งยังช่วยยึดเกาะคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวง่าย ไวร์เมช จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างนั่นเอง
10-10-2022
คอนกรีตอัดแรงคืออะไร? หลายท่านอาจยังไม่คุ้นกับคำว่า คอนกรีตอัดแรง ว่าคืออะไร คอนกรีตอัดแรงคือส่วนผสมระหว่างคอนกรีตกำลังสูงและ (ลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีตอัดแรง หรือ PC WIRE และ PC STRAND) การรวมกันนี้ทำให้เกิดเป็น คอนกรีตอัดแรงที่มีแข็งแรงมาก ในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคอนกรีตอัดแรง คานคอนกรีตธรรมดาถึงแม้จะความแข็งของคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนักของมันเอง แล้วก็ตาม แต่เมื่อมีการโหลดน้ำหนักเพิ่ม เช่น การวางตู้ ชั้น หรือสิ่งของต่างๆ ตัวคอนกรีตเองมีการรับน้ำหนักเพิ่มก็จะมีรอยร้าวเป็นของคอนกรีตเกิดขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปรอยร้าวเหล่านี้จะใหญ่ขึ้นและในที่สุดคอนกรีตมีการขยายตัวและทำให้คอนกรีตแตกหักได้ สาเหตุเหล่านี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คอนกรีตอัดแรงถูกคิดค้นขึ้น ประวัติย่อ: พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก. ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง วิธีผลิตคอนกรีตอัดแรง: 1.Pre-Tension ดึงลวดอัดแรงก่อนการเทคอนกรีต เช่น เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป และเสาไฟฟ้า เป็นต้น วิธีนี้เรียกว่าการอัดแรง เป็นวิธีก่อสร้างคอนกรีตอัดแรงที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กก่อน มีหลักการง่ายๆว่าจะต้องมีแท่นซึ่งมีหัวแท่นที่แข็งแรงสองหัวอยู่ห่างกันพอสมควร ก. ใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูง เช่น PC Wire และ PC Strand ร้อยผ่านหัวแท่น แล้วใช้แม่แรงหรือแจ็คดึงลวดเหล็กให้ยึดออกด้วยแรงประมาณ 70-80% ของกำลังสูงสุดของลวดเหล็กกล้า และใช้อุปกรณ์จับยึดลวดไว้ ข. เสร็จแล้วจึงเทคอนกรีต ลงในแบบให้หุ้มลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ไว้เมื่อบ่มคอนกรีตจนมีกำลังความแข็งแรงประมาณ 70-80% ของกำลังความแข็งที่มีอายุ 28 วัน ค. แล้วจึงตัดลวดเหล็กแรงดึงสูง หรือลวด PC Wire และ PC Strand ให้หลุดจากแท่น ลวดเหล็กกล้าซึ่งถูกดึงทิ้งไว้ก็จะพยายามหดตัวมาสู่สภาพเดิม แต่คอนกรีตที่จับยึดยึดลวดไว้ตลอดความยาวก็จะต้านทานการหดตัวของลวดเหล็ก ทำให้คอนกรีตถูกลวดเหล็กอัดไว้ด้วยแรงอัด ชิ้นส่วนประเภทคอนกรีตอัดแรงชนิดดึงเหล็กก่อน ได้แก่ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง, เสาไฟฟ้าคอนกรีตอัดแรง, คานสะพาน, พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ซึ่งชิ้นส่วนของคอนกรีตเหล่านี้ จะต้องผลิตในโรงงานแล้วขนส่งไปใช้งานที่หน่วยงานก่อสร้าง การใช้คอนกรีตอัดแรงแทนที่คอนกรีตเสริมเหล็ก จะทำให้ชิ้นส่วนคอนกรีตเหล่านี้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้การขนย้ายสะดวกมากขึ้น 2.Post-Tension Slab ดึงลวดอัดแรงหลังการเทคอนกรีต เช่น พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder) เป็นต้น คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง เป็นระบบที่พัฒนาต่อจากระบบแรกเพื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ต้องการคอนกรีตอัดแรงชิ้นใหญ่ ๆ เราอาจไม่สามารถขนส่ง, ยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนนั้นได้ เช่น สะพานช่วงยาวๆ พื้นอาคารขนาดใหญ่ๆ กรณีเช่นนี้ เราจะต้องเตรียมวางท่อเหล็กหรือท่อพลาสติกซึ่งร้อยลวดเหล็กกล้ากำลังสูงไว้ภายใน คอนกรีตอัดแรงชนิดดึงลวดเหล็กทีหลัง จะเริ่มต้นโดยการหล่อคอนกรีตในไม้แบบที่ได้ติดตั้งไว้ โดยจะต้องมีการฝังท่อสำหรับร้อยเหล็กเสริม (hollow duct) ในตำแหน่งที่ออกแบบไว้ โดยปกติลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะถูกร้อยผ่านในท่อไว้ โดยยังไม่ดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ก่อนการเทคอนกรีต (บางครั้งสามารถร้อยลวดเหล็กผ่านท่อหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว เมื่อคอนกรีตมีกำลังสูงถึงค่าที่ต้องการ จึงทำการดึงลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) การดึงลวดเหล็กอาจดึงเพียงข้างเดียว หรือดึงทั้งสองข้าง ขณะทำการดึงจะยึดปลายข้างหนึ่งไว้และดึงที่ปลายอีกข้างหนึ่ง (ในกรณีที่ออกแบบให้ดึงที่ปลายทั้งสองข้างจะทำการดึงทีละข้าง) โดยเมื่อดึงปลายข้างหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะสลับมาดึงปลายอีกข้างหนึ่ง เมื่อดึงแล้วจะทำการยึดปลายด้านให้ตึง โดยใช้อุปกรณ์ยึดปลาย ลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จึงถูกดึงค้างไว้บนคอนกรีตทำให้เกิดแรงอัดในคอนกรีต เมื่ออัดแรงเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคือการอัดน้ำปูน (grouting) เข้าไปในท่อที่ร้อยลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) น้ำปูนที่เข้าไปในท่อ ทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรงกับคอนกรีต การควบคุมรอยแตกร้าว (crack) จึงทำได้ดีขึ้น และเพิ่มกำลังประลัย (ultimate strength) ให้สูงขึ้น น้ำปูนที่หุ้มลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) จะช่วยป้องกันการกัดกร่อนของลวดเหล็กเสริมคอนกรีตอัดแรง (PC STRAND) ได้อีกด้วย ตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในงานคอนกรีตอัดแรง เช่น คานสะพาน เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เสาไฟฟ้า แผ่นพื้น หมอนรองรถไฟ เป็นต้น และทางสยามลวดเอง ก็มี PC WIRE มอก. 95-2540 และ PC STRAND มอก. 420-2540 ที่ใช้เป็นหัวใจหลักของการผลิตคอนกรีตอัดแรง ที่ได้รับการยอมรับ กว่า 50 ประเทศทั่วโลก รวมไปถึงบริการหลังการขายให้กับลูกค้าฟรี เช่น การเข้าไปสอบเทียบเครื่องดึงลวดให้ถึงหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อลูกค้ามั่นใจในการใช้งานลวดอัดแรงของ สยามลวดเหล็กฯ PC Wire: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-wire PC Strand: https://www.siw.co.th/th/product-detail/pc-strand
08-06-2022
SIW ทำธุรกิจด้วยหลัก ESG ที่พาองค์กรเติบโตและยั่งยืน มีการดำเนินการในด้าน Environment, Social and Governance (ESG) ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การดำเนินกิจกรรมด้านสังคม Social เพื่อแสดงความมุ่งมั่นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001, TIS 18001, มรท 8001 และ CSR-DIW ตลอดถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการปรึกษาหารือของพนักงานและชุมชน มีการดำเนินงานการการให้ปรับปรุง-เสริมสร้างความตระหนักความปลอดภัยแก่พนักงาน การให้ความรู้ให้แนวทางการดำเนินธุรกิจกับผู้ประกอบการและชุมชน การบริจาคให้กับการสร้างห้องสมุด การมอบทุนการศึกษาให้กับสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริษัท การสร้างกิจกรรมสำนึกบ้านเกิดของพนักงาน ในด้านสิ่งแวดล้อม Environment บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001, ISO 50001, Product carbon footprint label และ Environmental Product Declarations (EPD) โดยในทุกปีบริษัทมีการจัดทำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการอนุรักษ์พลังงาน มาตรการ Low Emission Support Scheme (LESS) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจ ตลอดถึงมุ่งมั่นการลดภาวะโลกร้อนอันเกิดจากก๊าซเรือนกระจก สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อมนี้บริษัทอยู่ระหว่างขยายความสามารถดำเนินโครงการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) ในด้านธรรมาภิบาล Governance บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001, ISO/IEC 17025, NATA-ISO/IEC 17025 และมาตรฐาน Product certificate จากแต่ละประเทศมากกว่า 25 มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ อาทิ TIS, UK CARES, DCL, ASTM, JIS, MS, NZ และ AS เป็นต้น เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานราชการ ว่าบริษัทสามารถผลิตสินค้าและให้บริการอย่างมีคุณภาพสอดคล้องมาตรฐานสากล ส่งผลให้บริษัทได้รับความไว้วางใจกับคู่ค้ามากกว่า 50 ประเทศจากทั่วโลก และบริษัทมีการดำเนินโปรแกรมการพัฒนาความรู้ ความสามารถของพนักงานอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบผ่านกระบวนการ QCC ซึ่งในทุกปีพนักงานของบริษัทที่ผ่านการพัฒนาความรู้ QCC นี้ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดนำเสนอผลงานในระดับประเทศ และนานาชาติ แล้วสามารถได้รับรางวัลระดับ Gold ได้ทุกปี เป็นที่ภาคภูมิใจของพนักงาน ครอบครัวของพนักงาน และองค์กร
20-01-2025
“5 อันดับบริการทดสอบลวดจาก SIW - Testing Service Center” ด้วยอุปกรณ์ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ความแม่นยำมากกว่า 99.95% และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 จาก NATA (National Association of Testing Authorities, Australia) ข้อมูลบริการ Tensile Testing Machine (เครื่องทดสอบแรงดึงวัสดุ) : บริการวัดความสามารถของลวดเหล็กในการรับแรงดึง โดยใช้ video extensometer เพื่อวัดค่า Yield, Modulus และ Agt Fatigue Testing Machine (เครื่องทดสอบความล้า) : รับน้ำหนักสูงสุด 500 kN, มีบริการถ่ายภาพรอยแตก ระบุจุดกำเนิดของรอยแตก (Origin Crack) และวิเคราะห์สาเหตุการขาดเบื้องต้น, มี Control Cube สำหรับการใช้งานหลายแกน และมีระบบ Vibrophore สำหรับตรวจจับการเกิดขึ้นและการขยายตัวของรอยแตก Relaxation Testing Machine (เครื่องทดสอบความผ่อนคลาย) : บริการทดสอบความผ่อนคลายของลวดเหล็ก โดยใช้ extensometer สำหรับตรวจสอบการยืดตัวของชิ้นงานทดสอบ Salt Spray Testing Machine (เครื่องจำลองสภาวะการกัดกร่อนด้วยการพ่นละอองเกลือบนลวดเหล็ก) : มีการรองรับมาตรฐานการทดสอบ ถึง 27 มาตรฐาน และมีฟังก์ชันเร่งการกัดกร่อน (Prohesion Function) Chemical Analysis (เครื่องตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีของลวดเหล็ก) : จำนวนธาตุที่ทดสอบให้ลูกค้า มากกว่า 20 ธาตุ, มีระบบการปรับเทียบ (Re-Calibration) อัตโนมัติ, มีฟังก์ชันการยิงตามประเภทของโลหะเพื่อความแม่นยำ และบริการระบุประเภทของโลหะตามความต้องการของลูกค้า สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SIW - Testing Service Center Tel: +66 81 170 2571 Email: marketing@siw.co.th LineID: @siwthailand
30-07-2024
ความแตกต่างระหว่าง Pre-tension กับ Post-tension 1. เวลาในการดึงแรง: - pre-tension: ลวด pc wire / pc strand จะถูกดึงก่อนการหล่อคอนกรีต - post-tension: ลวด pc wire / pc strand จะถูกดึงหลังจากคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 2. สถานที่: - pre-tension: มักทำในโรงงาน - post-tension: มักทำในสถานที่ก่อสร้าง 3. ความยืดหยุ่น: - pre-tension: มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าเนื่องจากองค์ประกอบถูกผลิตล่วงหน้าและขนส่งไปที่สถานที่ - post-tension: มีความยืดหยุ่นมากกว่า ช่วยให้สามารถปรับแต่งและออกแบบซับซ้อนในสถานที่ได้ 4. การใช้งาน: - pre-tension: เหมาะสำหรับองค์ประกอบที่ผลิตมาตรฐานและจำนวนมาก - post-tension: เหมาะสำหรับโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อนที่ต้องการการปรับแต่ง 5. อุปกรณ์: - pre-tension: ต้องใช้แท่นหล่อคอนกรีตยาว - post-tension: ต้องใช้อุปกรณ์ดึงแรงพิเศษและอุปกรณ์กรอกท่อ Pre-tension ใน pre-tension สายเคเบิลหรือเส้นลวดเหล็กจะถูกดึงก่อนที่คอนกรีตจะถูกหล่อ กระบวนการ: 1. การดึงลวด pc wire / pc strand : ลวด pc wire / pc strand จะถูกดึงและยึดที่ปลายของแท่นหล่อคอนกรีต 2. การหล่อคอนกรีต: คอนกรีตถูกเทลงในแท่นหล่อคอนกรีต ที่มีลวด pc wire / pc strand ถูกดึง 3. การบ่ม: ปล่อยให้คอนกรีตบ่มและแข็งแรงขึ้น 4. การปล่อยลวด pc wire / pc strand : เมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว จะค่อยๆ ปล่อยแรงดึงในลวด pc wire / pc strand ซึ่งจะถ่ายเทแรงดึงไปยังคอนกรีต การใช้งาน: - มักใช้ในองค์ประกอบคอนกรีตหล่อสำเร็จ เช่น คาน แผ่นพื้น และเสา - เหมาะสำหรับการผลิตในโรงงานที่มีการผลิตจำนวนมาก ข้อดี: - มีการควบคุมคุณภาพที่ดีเนื่องจากถูกผลิตจากโรงงาน - เหมาะสำหรับการผลิตจำนวนมาก ข้อเสีย: - จำกัดด้วยความยาวของแท่นหล่อคอนกรีต - การขนส่งอาจทำได้ยากเนื่องความยาวของชิ้นงาน Post-tension ใน post-tension ลวด pc wire / pc strand จะถูกดึงหลังจากที่คอนกรีตถูกหล่อและบ่มแล้ว กระบวนการ: 1. การหล่อคอนกรีต: คอนกรีตถูกเทลงในแม่พิมพ์ที่มีท่อหรือปลอกไว้สำหรับใส่ลวด pc wire / pc strand 2. การใส่ลวด pc wire / pc strand : หลังจากที่คอนกรีตบ่มแล้ว จะใส่ลวด pc wire / pc strand เข้าไปในท่อ 3. การดึงลวด pc wire / pc strand : ลวด pc wire / pc strand จะถูกดึงด้วยแจ็คไฮดรอลิกและยึดที่ปลายขององค์ประกอบคอนกรีต 4. การกรอกท่อ (ถ้ามี): ท่อมักจะถูกกรอกด้วยปูนเพื่อป้องกันลวด pc wire / pc strand จากการกัดกร่อน การใช้งาน: - มักใช้ในโครงสร้างคอนกรีตที่หล่อในสถานที่ เช่น สะพาน โรงจอดรถ และแผ่นพื้นขนาดใหญ่ - เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการช่วงกว้างและรูปทรงซับซ้อน ข้อดี: - มีความยืดหยุ่นในการออกแบบและก่อสร้างมากขึ้น - สามารถใช้สำหรับช่วงที่ยาวขึ้นโดยไม่ต้องใช้เสากลาง - ลดการแตกร้าวและเพิ่มความทนทาน ข้อเสีย: - ต้องการการดึงแรงและการกรอกท่อที่ระมัดระวังในสถานที่ - ต้องการทักษะและความแม่นยำสูงในการดึงแรง - อุปกรณ์ดึงแรงอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้ง pre-tension และ post-tension ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างคอนกรีต มอบความแข็งแรงและความทนทานที่สูงกว่าคอนกรีตเสริมเหล็กแบบดั้งเดิม การเลือกใช้งานทั้งสองประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของโครงการ รวมถึงความซับซ้อนในการออกแบบ สภาพการก่อสร้าง และการพิจารณาด้านการขนส่ง SIW เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายลวด pc wire / pc strand ที่ได้มาตรฐานระดับโลก จึงเหมาะแก่การนำไปใช้งานคอนกรีตอัดแรงทั้ง pre-tension และ post-tension
30-05-2023
ในการก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน เราสามารถเห็นการใช้งานตะแกรงเหล็กไวร์เมช มาทดแทนการใช้เหล็กเส้นในส่วนของเหล็กเสริมล่าง ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นโรงงาน , พื้น Post-tension และถนนคอนกรีต เป็นต้นฯ เนื่องจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนได้มากกว่าเป็นไหนๆ แต่ในการหันมาใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช แทนเหล็กผูกก็อาจมีวิธีการใช้งานและหลักการคำนวณบางอย่างที่แตกต่างกัน หนึ่งในเรื่องที่หลายคนสงสัยมากคือ “การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช” ควรมีระยะเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง การต่อทาบตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้น จะต้องมีการต่อทาบ ดังนี้ 1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดพื้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวดบวกเพิ่มอีก 5 เซนติเมตร 2. การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร อ้างอิง: มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (วสท. 011007-19) และทางสยามลวดเหล็กฯ ก็มีตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ที่ผ่านมาตรฐาน มอก. 737 ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ, ความปลอดภัย, รวดเร็ว และยังมีบริการการออกแบบ CAD, การจัดสรรงบประมาณ, แถมมีวิศวกรให้คำปรึกษาฟรี!! ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม: https://www.siw.co.th/th/product-detail/wire-mesh
08-06-2022
ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงนั้น นอกจาก ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ( PC WIRE , PC STRAND ) จะมีความสำคัญแล้ว ยังมีเครื่องดึงลวดที่ใช้ใน การดึงลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ให้มีสถานะพร้อมใช้งาน ถ่ายแรงสู่คอนกรีต ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ถึงแม้ลวดเหล็กจะดีแค่ไหนแต่ถ้าเครื่องดึง ไม่มีการปรับตั้งค่าแรงดึง ลวด ให้เหมาะสมกับประเภทงานคอนกรีตอัดแรง ตามรายการคำนวณทางวิศวกรรม และ ขนาดของลวดเหล็กที่นำมาใช้งาน 1.หากใช้แรงดึงที่ไม่เพียงพอ ก็สามารถ ทำให้ผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง ไม่สามารถรับน้ำหนักใช้งานตามที่ออกแบบ หรือ อาจเกิดปัญหา กับชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ขึ้นได้ 2.หากใช้แรงดึงที่มากเกิน อาจส่งผลให้ลวดเหล็ก รับแรงไม่ได้และ ขาด ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ หรือ ในกรณีที่ดึงลวดเหล็ก เกินจุด YEILD ส่งผลทำให้ ลวดเหล็กไม่หดตัวกลับ ทำให้ไม่เกิดสภาวะการอัดแรง ส่งผลให้ไม่สามารถรับน้ำหนักใช้งานตามที่ออกแบบ และ การเสียหายของผลิตภัณฑ์ ทาง SIW จึงมีบริการหลังการขาย ในการสอบเทียบค่าแรงดึงของเครื่องดึงลวด จากที่ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้บริการ ( ฟรี ) ให้กับลูกค้าของ SIW ทุกท่าน และบริการการถึงที่ ทั่วประเทศไทยเพื่อให้ลูกค้าทุกท่านมีความมั่นใจในการใช้ ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ นอกจากจะมีการสอบเทียบให้กับลูกค้าแล้ว ยังมีการให้คำแนะนำการใช้งาน การดูแลรักษาเครื่องดึงลวดรวมไปถึงให้ความรู้ด้านเทคนิควิศวกรรม และยังให้คำแนะนำเรื่องการใช้งานอย่างปลอดภัย โดยทีมวิศวกรของ SIW อีกด้วย
08-06-2022
น้ำหนักของตะแกรงเหล็กก็มีความสำคัญมากในการสั่งซื้อเพราะ จะทำให้เราสามารถ รู้ได้ว่าจำนวนแผงได้ครบตามที่ต้องการหรือไม่ และยังสามารถตรวจสอบความถูกต้องของ ขนาดเหล็กว่าได้เหล็กเต็มขนาดรึเปล่า วิธีการคำนวนอย่างง่าย ( ใช้ได้เฉพาะ ตะแกรงที่มีขนาดลวดและ ความห่างตาเท่ากัน เท่านั้น ) ตามภาพ ถึงอย่างไร น้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก มีรายละเอียดในตะแกรงเหล็กมากกว่านั้นเช่น จำนวนลวดที่ไม่เท่ากัน หรือ มีความต่างของ ขนาดลวด และความต่างของช่องตา จึงต้องมีการคำนวนอย่างละเอียด ถ้าต้องการทราบว่าน้ำหนักที่ถูกต้องก็ สามารถสอบถาม กลับมาทาง บริษัทสยามลวดเหล็กได้ เนื่องจากมีวิศวกร คอยให้ความรู้ และ สามารถสอบถามราคาได้ จึงมีความมั่นใจได้ว่า เหล็กของสยามลวด นั้น เป็นเหล็กเต็มขนาด และมีมาตรฐานในการผลิตที่ได้ตามมาตรฐาน มอก.
16-12-2024
เทรนด์การก่อสร้างที่น่าจับตามอง ในปี 2025 เทรนด์การก่อสร้างในปัจจุบันไม่ได้เพียงแค่เน้นการพัฒนาโครงสร้างที่ทันสมัยและแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกมาใช้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน การก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) ในปัจจุบัน แนวคิดการก่อสร้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Construction) กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากสอดคล้องกับหลักการ ESG ที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น • การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม • เทคนิคการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง • การจัดการของเสียด้วยการคัดแยกและจัดการเศษวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดนี้ไม่เพียงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อสร้างโครงสร้างที่ตอบสนองความต้องการของปัจจุบันโดยไม่กระทบต่อทรัพยากรในอนาคต เทคโนโลยีดิจิทัลในงานก่อสร้าง (Digital Technology in Construction) เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น • IoT (Internet of Things): อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเพื่อเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น การตรวจสอบความปลอดภัยในไซต์งาน • AI (Artificial Intelligence): ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย • ระบบ BIM กับการออกแบบโครงสร้างอย่างแม่นยำ: ช่วยออกแบบโครงสร้างและจัดการโครงการอย่างแม่นยำ ลดการสิ้นเปลืองวัสดุและข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี เช่น โดรนสำรวจพื้นที่แบบ 3 มิติ และ AR/VR สำหรับการออกแบบเสมือนจริง ซึ่งช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาการก่อสร้าง เพิ่มความปลอดภัย และช่วยในการตัดสินใจที่แม่นยำยิ่งขึ้น การใช้พลังงานสะอาด (Clean Energy) แนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดในอุตสาหกรรมก่อสร้างกำลังเติบโต โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น • หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Roofs) : ช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก • พลังงานจากลม (Wind Energy) : ใช้พลังงานลมเพื่อลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงานสะอาดไม่เพียงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุนพลังงานและสร้างโครงสร้างที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงาน (Prefabrication) การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปในโรงงานเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญ โดยมีการออกแบบและผลิตองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ผนังสำเร็จรูป แผ่นพื้น เสา และหลังคา ในโรงงานที่มีการควบคุมคุณภาพ ก่อนนำไปประกอบในไซต์งานจริง วิธีนี้ช่วยเร่งความเร็วในการก่อสร้างและลดความยุ่งยากในไซต์งาน ปัจจุบัน SIW ก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์การก่อสร้างที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) หรือการสนับสนุนการก่อสร้างอย่างยั่งยืนผ่านการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลจากเทคโนโลยี EAF นอกจากนี้ SIW ยังได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 (Green Industry Level 4) และกำลังดำเนินแผนสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในทุกมิติของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
เรามุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง และเรายังมุ่งเน้นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์พิเศษเหนือความคาดหมาย